การชกมวยชิงถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่9

มวยโดยเสด็จพระราชกุศล
ทุนนักมวยไทย ในมูลนิธิอานันทมหิดล
 



ขอบเขตการดำเนินงานของเวทีราชดำเนิน ไม่ได้จำกัดบทบาทอยู่ที่ความรับผิดชอบในการส่งเสริมสนับสนุนและเผยแพร่มวยไทย ศิลปวัฒนธรรมการต่อสู้ป้องกันตัว ที่เกิดจากภูมิปัญญาไทยและเป็นมรดกของชาติไทยเท่านั้น แต่ได้สยายปีกและเพิ่มภารกิจความรับผิดชอบเข้าสู้ภาคสังคม เพื่อคุณภาพและความมั่นคงในการดำรงชีวิตของกลุ่มชนผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา และผู้ไม่มีโอกาสที่จะแสวงหารายได้จากแหล่งงานด้านอื่นด้วย
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่เปิดการแข่งขันชกมวยนัดปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2488 จนมาถึงบัดนี้เป็นเวลา 60 ปี เวทีราชดำเนินจึงได้กลายเป็นแหล่งงานที่ประชากรของชาติในวัยเยาวชนและวัยหนุ่มฉกรรจ์ หลั่งไหลจากสุกสารทิศและทุกภาคของประเทศ เข้ามาแสวงหารายได้จากการแข่งขันด้วยศิลปะอันยอดเยี่ยมแห่งมวยไทย เพื่อใสวงหาเงินจุนเจือครอบครัวและหาเงินเป็นทุนการศึกษา ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่เพียงแต่จะสร้างความภูมิใจให้กับเวทีราชดำเนินเท่านั้นแต่เป็นกรณีที่ประเทศชาติเองก็ได้รับผลประโยชน์อย่างยิ่ง เมื่อบุคคลผู้เติบโตมาจากการโลดแล่นอยู่บนผืนผ้าใบของเวทีราชดำเนินได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารของหน่วยงานราชการ และเป็นรัฐมนตรีทำหน้าที่บริหารประเทศในเวลาต่อมาหลายคน
เมื่อย้อนกลับไปมองอดีตที่ผ่านมา เวทีราชดำเนินได้ดำเนินงานเพื่อสาธารณกุศล ทั้งทางด้านความมั่นคงของชาติด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทุนสวัสดิการของกองทัพอากาศและกองทัพเรือ และทางด้านสาธารณกุศลเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนชาวไทยจากมหันตภัยร้ายแรง ไม่ว่าจะเกิดจากกรณีอุทกภัย วาตภัย ภัยจากไฟไหม้ทุกระดับชองความสูญเสีย
ภารกิจเพื่อประเทศชาติไม่ใช่ภารกิจที่มีวันสิ้นสุดหรือจบบริบูรณ์ เหมือนกิจการอย่างอื่นด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เองการน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรับภาระในการหาเงินสมทบทุน “ทุนนักมวยไทย ในมูลนิธิอานันทมหิดล” จึงเป็นหน้าที่หลักอย่างหนึ่งของเวทีราชดำเนินในเวลาต่อมา ซึ่งในที่สุดเวทีราชดำเนิน สนามมวยที่ได้รับการจัดตั้งโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในฐานะเวทีมวยแห่งแรกของประเทศไทย ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง “ทุนนักมวยไทย ในมูลนิธิอานันทมหิดล” ขึ้น เพื่อเป็นเกียรติแก่วงการมวย ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ ที่ 2268/2504 ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2504 แจ้งถึงนายเฉลิม เชี่ยวสกุล ประธานจัดการแข่งขันมวยโดยเสด็จพระราชกุศล “ทุนนักมวยไทย ในมูลนิธิอานันทมหิดล” ซึ่ง ณ เวลานั้น นายเฉลิม เชี่ยวสกุล ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการเวทีมวย ราชดำเนินอยู่ด้วย
แต่ก่อนที่การแข่งขันมวยโดยเสด็จพระราชกุศล “ทุนนักมวยไทย ในมูลนิธิอานันทมหิดล” จะเริ่มขึ้นและได้รับการจัดการแข่งขัน เพื่อน้อมเกล้าฯถวายทุนมูลนิธิ มีความเป็นมาอย่างไร เป็นเรื่องที่น่าจะย้อนกลับไปสู่อดีตติดตามการทำงานของคนรุ่นเก่ากันอีกครั้ง
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแข่งขันชกมวยโดยเสด็จพระราชกุศล สมทบทุน ทุนนักมวยไทย ในมูลนิธิอานันทมหิดล” ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2504 โดยมีนายเฉลิม เชี่ยวสกุล ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันเฝ้ารับเสด็จฯ ในภาพนายเฉลิม เชี่ยวสกุลกราบทูลถวายรายงาน และแนะนำคณะกรรมการเพื่อทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท

1. ภูมิหลังและที่มา
ช่วงครึ่งหลังของ พ.ศ. 2504 ได้มีการเคลื่อนไหวจากบุคคลในวงการมวยอย่างจริงจัง เพื่อบรรลุความสำเร็จในการจัดตั้ง “กองทุนนักมวยไทย ในมูลนิธิอานันทมหิดล” ซึ่งเป็นมูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นเป้นพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เพื่อส่งนักศึกษาในระดับมันสมองของชาติไปศึกษาต่อต่างประเทศในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และด้านอื่นๆ ซึ่งก่อนหน้าปี 2504 นั้นทางมูลนิธิได้ส่งนักศึกษาไปแล้วหลายคน และหลายชุด
มูลนิธิอานันทมหิดล ได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับเงินกองทุนไว้อย่างกว้างขวาง เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไป จัดตั้งกองทุนสมทบในมูลนิธิเพื่อเป็นทุนดำเนินการด้วย
เวทีมวยราชดำเนิน เวทีที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นสนามมวยแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 จึงได้เป็นแกนนำร่วมกับ เวทีลุมพินีและคณะบุคคลในวงการมวยน้อมเกล้าฯ ถวายความจงรักภักดีต่อเบื้องพระยุคลบาท ด้วยการดำเนินจานจัดตั้งกองทุนนักมวยไทย ในมูลนิธิอานันทมหิดล โดยมีนายเฉลิม เชี่ยวสกุล ประธานกรรมการบริษัท เวทีราชดำเนิน จำกัด เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงานและนายเทียมบุญ อินทรบุตร เป็นผู้ประสานงานและเป็นเลขานุการคณะกรรมการ เป็นผู้ทำงานแทนคณะกรรมการทั้งหมด ทั้งในการประสานงานกับสำนักพระราชวังการเข้าร่วมประชุมกับเจ้าคุณศรีเสนาสมบัติศิริ ผู้แทนสำนักพระราชวัง และผู้แทนหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งเวทีราชดำเนิน เวทีลุมพินี และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาท ในระดับสำคัญยิ่ง
จนในที่สุดก็ได้ข้อยุติเป็นที่แน่นอน นายเฉลิม เชี่ยวสกุล ประธานกรรมการจัดมวยโดยเสด็จพระราชกุศลสมทบทุน “มูลนิธิอานันทมหิดล” จึงได้น้อมเกล้าฯ กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติ จัดตั้ง “ทุนนักมวยไทย ในมูลนิธิอานันทมหิดล” แกราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแข่งขันมวยโดยเสด็จพระราชกุศลครั้งแรกที่จะมีขึ้น ณ เวทีราชดำเนินในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2504 ด้วย โดยหนังสือกราบบังคมทูล ดังกล่าวลงวันที่ 9 ตุลาคม 2504
ต่อมาอีก 4 วัน สำนักราชเลขาธิการ ได้มีหนังสือที่ 2268/2504 ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2504 เรื่อง ทรงรับ เชิญเสร็จฯ ในการแข่งขันชกมวยโดยเสด็จพระราชกุศลสมทบทุน “มูลนิธิอันนทมหิดล”
2. มวยโดยเสด็จพระราชกุศลครั้งที่ 1
วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2504 นับเป็นวันมหามงคลยิ่งของวงการมวย เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การแข่งขันมวยโดยเสด็จพระราชกุศล สมทบทุน “กองทุนนักมวยไทย ในมูลนิธิอานันทมหิดล” ณ เวทีราชดำเนินและทรงประทับทอดพระเนตร การแข่งขั้นตั้งแค่คู่แรกไปจนถึงคู่สุดท้ายของรายการแข่งขัน
มวยโดยเสด็จพระราชกุศลครั้งที่ 1 จัดเป็นรายการมวยยอดเยี่ยมแห่งยุค โดยเวทีราชดำเนินและเทียมบุญ อินทรบุตรได้ระดมนักมวยชั้นนำทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเข้ารายการอย่างคับคั่งเป็นประวัติการณ์
คู่มวยไทยในรายการ และผลการแข่งขันปรากฏดังนี้
  • ลูกศร ลูกนาวิกโยธิน ชนะคะแนน อนันตชัย ศรผจญ แบบ ขาดลอย
  • เด่น ศรีโสธร เสมอกับ นำพล สกุลศึก ดุเดือด
  • เคียว โนกูจิ รองแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท ชาวญี่ปุ่นฝืมือเหนือกว่า ชนะ น๊อกยก 1 สิงห์เงิน สมานชัยในการชกสากลกำหนด 8 ยก
  • อดุลย์ ศรีโสธร “แชมป์มงกุฎเพชร” ล้มครืนลงกลางเวทีแบบพลิกความคาดหมาย เมื่อนำศักดิ์ ยนตรกิจ ดาวโรจน์  กำปั้นหนักโหมกระหน่ำ ตั้งแต่วินาทีแรก กรรมการนับ 9 แต่ในยกต่อๆมาก อดุลย์ ศรีโสธรก็ทำคะแนนตีตื้นด้วยลูกเตะอย่างรุนแรง อย่างไรก็ดี พอขึ้นยกที่ 5 “แชมป์มงกุฎเพชร” ก็ถูกรุกไล่อีกจนเป๋ไปเป๋มา แพ้คะแนนไปแบบพลิกล็อคในการชกเป็นคู่เอกแบบมวยไทย
  • เขียวหวาน ยนตรกิจ แลกหมัดกันดุเดือดกับ กัง แซ ชุล นักมวยเกาหลีใต้ในการชกชิงแชมป์ภาคตะวันออกรุ่นจูเนียร์ มิดเดิ้ลเวท กัง แซ ชุล เจอ “ซ้ายฟ้าฟาด” เข้าอย่างจังในยกที่ 2 หัวทิ่มพังพาบ ให้กรรมการนับ 9 เมื่อเข้าคลุกกันอีกครั้ง ปรากฏว่า กัง แซ ชุล เลือดหลั่งจากแผลเตกที่คิ้วขวา แพทย์เวทีตรวจแล้วสั่งยุติการชก เขียวหวานจึงเป็นฝ่ายชนะ TKO ในยกที่ 2 ในการชกเป็นคู่เอกแบบมวยสากล กำหนด 12 ยก
  • ลือชัย บางยี่ขัน ชนะคะแนน จิ้งหรีดทอง มหาสารคาม ท่วมท้น
  • พายัพ สกุลศึก ชนะคะแนน ธานี พยัคฆ์โสภณ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลพระราชทาน ให้แก่นำศักดิ์ ยนตรกิจ นักชกยอดเยี่ยมมวยไทย และเขียวหวาน ยนตรกิจ นักชกยอดเยี่ยมมวยสากล และทรงพระราชทานเข็มปักหน้าอกเสื้อให้กับนักมวย ทุกคนที่ชกในรายการด้วย
3. มวยโดยเสด็จพระราชกุศลครั้งที่ 2
หลังจากนั้น เป็นช่วงเวลาที่สนามมวยเวทีลุมพินีจะต้องเป็นเจ้าภาพจัดมวยโดยเสด็จพระราชกุศลฯ ตามบันทึกข้อตกลงร่วมกับฝ่ายสนามมวยเวทีราชดำเนินและผู้แทนสำนักพระราชวัง เมื่อปลาย พ.ศ. 2504 ถือเป็นงานใหญ่ที่จะต้องเตรียมการให้พร้อม ระดับบริหารเวทีลุมพินี จึงได้เชิญประชุมผู้เกี่ยวข้องโดยมี นายแก้วขวัญ วัชโรทัย ผู้แทนสำนักพระราชวังร่วมด้วยและได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นรับผิดชอบฝ่ายต่าง ๆ มีรายนามเฉพาะบุคคลที่เป็นประธานฝ่ายดังนี้
  • ประธานอำนวยการ  พล.ต.เกรียงไกร อัตตะนันท์
  • ประธานฝ่ายหารายได้   พล.ต.ต.ต่อศักดิ์ ยมนาค
  • ประธานฝ่ายการเงิน   นายอรุณ จันทรางศุ
  • ประธานฝ่ายโฆษณา  พล.ต.ศุภชัย สุระวรรธนะ
  • ประธานฝ่ายจัดรายการ  พ.ต.ท.บุญเลิศ เลิศปรีชา
  • ประธานฝ่ายสถานที่  พล.ต.ขุนชิดผดุงพล
  • ประธานฝ่ายรักษาความสงบ พล.ต.ต.ธีรบูลย์ จัตตารีส์
  • ประธานฝ่ายปฏิคม   พ.อ.กมล พิจิตรคดีพล
  • ประธานฝ่ายเทคนิค  นายวงศ์ หิรัณยเลขา
  • กรรมการพิจารณานักมวยยอดเยี่ยม นายเขตต์ ศรียาภัย, นายเจือ จักษุรักษ์, นายแพทย์สุประเกต จารุดุล, นายสังเวียน หิรัณยเลขา และนายวงศ์ หิรัณยเลขา
โดยเหตุที่เป็นมวยหน้าพระที่นั่งรายการโดยเสด็๗พระราชกุศล สมทบทุนนักมวยไทยในมูลนิธิอานันนทมหิดล (ครั้งที่ 2) ณ สนามมวยเวทีลุมพินี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2506 นั้น คณะกรรมการได้กำหนดค่าดูไว้ 4 อัตรา คือ 10, 120, 150 และ 500 บาท มี่ใครบ่นว่าแพงเลย เพราะเต็มใจที่จะมีส่วนร่วมสมทบทุนนักมวยไทยในมูลนิธิอานันทมหิดลอยู่แล้ว
ในส่วนผลตอบแทนของนักมวยในรายการนั้น ทางคณะกรรมการตกลงให้ใช้คำว่า ...เงินค่าฝึกซ้อม...แทนคำว่า...เงินรางวัล
ผลการชกโดยสรุป เรียงตามลำดับคู่ดังนี้
  1. คู่ที่ 1 นรสิงห์ อิสสระภาพ เสมอกับ อนันตศักดิ์ เทียนชัย (ร.ฟ.ท.)
  2. คู่ที่ 2 วิชาญ ส.พินิจศักดิ์ ชนะน็อคเอ๊าท์ ธนูทอง ก.เจริญ ยก 3 ด้วยเข่าตียอดอก
  3. คู่ที่ 3 เด่น ศรีโสธร ถูกตัดสินให้แพ้คะแนน แสนทะนง เกศสงคราม ชนิดค้านสายตาคนดูทั้งสนามเสียงโห่ประท้วงดังกึกก้องเป็นประวัติการณ์
  4. คู่ที่ 4 ประกายแก้ว ลูก ส.ก. ชนะคะแนน นำศักดิ์ ยนตรกิจ เวลา 20.00 น. รถพระที่นั่งเทียบหน้าสนามมวย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินถึงระหว่างนั้นทางเวทีได้จัดมวยสากล ขจรศักดิ์ ลูกพิฆเนศร์ กับ กุมารทอง ยนตรกิจ ขึ้นชกคั่นเวลาเป็นการชดเชยอารมณ์คนดูในขณะที่คณะกรรมการออกไปตั้งแถวรับเสด็จฯ เข้าสู่ที่ประประทับ
    พล.ต.ขุนชิดผดุงพล นายสนามเวทีลุมพินี กล่าวถวายรายงานและกราบบังคมทูลรายชื่อนักมวยในรายการเสร็จแล้วจึงเป็นมวยหน้าพระที่นั่ง
  5. คู่ที่ 5 เดชฤทธิ์ อินทรบุตร (ยนตรกิจ) ชนะคะแนน รักเกียรติ เกียรติเมือยม โสสะอาดขาดลอยเพราะยกสาม รักเกียรติโดนเตะลงไปนั่งให้นับยาว ก่อนจะแข็งใจลุกขึ้นมาสู้ต่อจนครบ 5 ยก
  6. คู่ที่ 6 เป็นมวยสากลกำหนด 12 ยก ชิงแชมป์ไลท์เวทลุมพินี อดุลย์ ศรีโสธร ชนะ ที.เค.โอ. อดิศักดิ์ อิทธิอนุชิต (แขวงมีชัย) ยก 9
  7. คู่ที่ 7 กิ่งแก้ว บางยี่ขัน ถูกไพโรจน์ พยัคฆโสภณ กระหน่ำตีเข่าย่ำแย่หนีไม่ออก คนดูโห่หาว่าล้มกรรมการประสิทธิ์ อำพันแสง เลยประกาศไม่มีการตัดสิน ยกที่ 4 หาว่ากิ่งแก้ว ชกไม่สมศักดิ์ศรี เป็นการไล่นักมวยลงเวทีต่อหน้าพระที่นั่ง ครั้งแรกในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
  8. คู่ที่ 8 คู่สุดท้าย สุชาย เกศสงคราม ชนะ ที.เค.โอ. บุกเดี่ยว ยนตรกิจ ยกสาม เพราะถูกศอกตีดั้งจมูกยุบแพทย์สนามสั่งยุติการชก
ผลการพิจารณานักมวยยอดเยี่ยม มวยไทยได้แก่ เดชฤทธิ์ อินทรบุตร, มวยสากลได้แก อดุลย์ ศรีโสธร ซึ่งได้ขึ้นรับถ้วยพระราชทาน จากพระบาทมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และนักมวยคนอื่นๆ ก็ได้รับของรางวัลพระราชทานเป็นที่ระลึกอย่างทั่วถึงกัน
ต่อมา เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม เวลา 11.00 น. พล.ต.เกรียงไกร อัตตะนันท์ ประธานอำนวยการ ได้นำคณะกรรมการจำนวน 54 นาย เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เพื่อทูลเกล้าฯถวายเงินจำนวน 301,484 บาท ที่ได้จากการจัดมวยโดยเสด็จฯ ครั้งนี้
พระบางสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสขอบใจคณะกรรมการ และนักมวยโดยทั่วถึง ที่ได้ร่วมกันทำงานเพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติ และทรงชี้ให้เห็นว่า ในอดีตนักมวยเคยมีส่วนช่วยป้องก้นประเทศชาติมาแล้ว มาในปัจจุบันนักมวยก็มีโอกาสได้เสียสละเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาของชาติ เพื่อให้ได้คนดีมีความรู้มาช่วยกันทำประโยชน์ให้แก่สาธารณะ นับเป็นสิ่งที่น่ายินดี นอกจากนั้น การจัดแข่งขันชกมวยยังช่วยให้ประชาชนที่นิยมกีฬาประเภทนี้ได้รับความสนุกตื่นเต้น และมีโอกาสที่จะทำให้คณะกรรมการซึ่งมาจากต่างอาชีพได้พบปะคุ้นเคยกัน ซึ่งตามปกติอาจไม่มีโอกาสได้รู้จักกันเลยก็ได้ เป็นการปลูกฝังความสามัคคีได้อย่างหนึ่ง
4. มวยโดยเสด็จพระราชกุศลครั้งที่ 3
ปรากฏการณ์ที่เกิดในวงการมวยที่ได้รับการบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ไว้จนถึงทุกวันนี้อีกครั้งหนึ่ง ก็คือความร่วมมือของคณะมวย 20 คณะ ที่พร้อมใจกันน้อมเกล้าฯ ถวายความจงรักภักดี ด้วยการมอบนักมวยฝีมือดีที่สุด ขึ้นชกในรายการโดยเสด็จพระราชกุศลครั้งที่ 3 ที่มีขึ้น ณ เวทีราชดำเนิน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ 2508 โดยไม่คำนึงถึง เงินรางวัลที่นักมวยจะได้รับ
ความภาคภูมิใจ และความเป็นสิริมงคล แก่ตัวเอง และนักมวยต่างหากที่เป็นสุดยอดของความปรารถนาในการจัดการแข่งขันครั้งนี้ จึงทำให้บุญส่ง กิจกล่ำศวร โปรโมเตอร์ ผู้จัดทำงานง่ายขึ้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แก่คณะกรรมการจัดการแข่งขัน โดยเสด็จพระราชดำเนินและทรงประทับทอดพระเนตรการแข่งขันอยู่นานถึง 4 ชั่วโมง ยังความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณแก่บุคคลในวงการมวยอย่างล้นพ้น
ผลการแข่งขันมวยโดยเสด็จพระราชกุศลครั้งที่ 3 ปรากฏดังนี้
  1. คู่ที่ 1 คะนองเมฆ ชาติพิชิต ชนะคะแนน เดชปรีดา ส.ลูกพิทักษ์
  2. คู่ที่ 2 มวยสากลกำหนด 8 ยก พันทิพย์ แก้วสุริยะ ชนะคะแนน วิทยาน้อย สิงห์ยอดฟ้า ท่ามกลางเสียงโห่เล็กๆ ซึ่งถ้าเป็นรายการปกติ ไม่ใช่รายการโดยเสด็จพระราชกุศล หน้าพระที่นั่ง รายการถล่มเวที และถล่มกรรมการตัดสินคงไม่ยุติลงง่ายๆ แน่
  3. คู่ที่ 3 แสนนภา พยัคฆโสภณ (เกียรติศักดิ์บางรัก) ชนะคะแนน “กระทิงแดง” เด่น ศรีโสธร แบบพลิกล็อค เพราะฝ่ายหลังลดน้ำหนักมาก แสนนภาได้ครองแชมป์รุ่นจูเนียร์ไลท์เวท เวทีราชดำเนินแทน
  4. คู่ที่ 4 “แชมป์ 5 ตำแหน่ง” วิชาญน้อย ส.พินิจศักดิ์ ชนะคะแนน “ขุนขวาน” รักเกียรติ เกียรติเมืองยม แบบขาดลอย
  5. คู่ที่ 5 “จอมบุก” สมพงษ์ เจริญเมือง ชนะคะแนน “จรวดทัพฟ้า” ราวีเดชาชัย แบบดุเดือด
  6. คู่ที่ 6 “จอมเตะบางนกแขวก” อภิเดช ศิษย์หิรัญ ชนะน็อค “สิงห์ดำ” ศรชัย มัลละยุทธ ยกที่ 2 อนันตเดช ศิษย์หิรัญ ชนะคะแนนไปแบบขาดลอย
  7. คู่ที่ 7 มนต์สวรรค์ แหลมฟ้าผ่า ได้เปรียบรูปร่าง สูงใหญ่กว่าชนะคะแนน พลายน้อย ร.ฟ.ท. ขาดลอย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานถ้วยพระราชทานให้แก่ พันทิพย์ แก้วสุริยะ นักชกยอดเยี่ยมในแบบสากล และพระราชทานถ้วยพระราชทานยอดเยี่ยมมวยไทยให้แก่ สมพงษ์ เจริญเมือง
5. มวยโดยเสด็จพระราชกุศลครั้งที่ 4
รายการมวยโดยเสด็จพระราชกุศล สมทบทุน “กองทุนนักมวยไทย ในมูลนิธิอานันทมหิดล” ครั้งที่ 4 ได้รับการจัดขึ้นที่เวทีราชดำเนิน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 ธนวาคม 2512 ปากฎว่าได้รับความสนใจจากแฟนมวยในระดับค่อนข้างดีอีกครั้งหนึ่ง เก็บค่าผ่านประตูได้ไม่ต่ำกว่า 300,000 บาท นักมวยและผู้เกี่ยวข้องทุกคนและทุกฝ่ายพร้อมใจกันสละรายได้ทั้งหมดทูลเกล้าฯถวายโดยเสด็จพระราชกุศล พร้อมเพรียงกัน
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชายวชิราลงกรณ (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร) ได้เสด็จประทับทอดพระเนตรการแข่งขัน และพระราชทานถ้วยและเข็มขัดแชมเปี้ยนรวมตลอดถึงของที่ระลึกให้แก่นักมวยทุกคนท่ามกลางเสียงไชโยโห่ร้องถวายพระพร จากพสกนิกรในสนามมวยอย่างกึกก้อง
  • สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราชปฏิสันฐานกับคณะกรรมการจัดการ แข่งขันมวยโดยเสด็จพระราชกุศล สมทบทุน “ทุนนักมวยไทย ในมูลนิธิอานันทมหิดล” ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2512 ณ เวทีราชดำเนิน
สำหรับถ้วยพระราชทางแบบมวยไทยได้แก่ เฉลิมศักดิ์ เพลินจิต และมวยสากลได้แก่ เวนิช บ.ข.ส. นักสู้จากดินแดนที่ราบสูงทั้งคู่
ผลการแข่งขันนักมวยในรายการ
  • คู่เอกของรายการเป็นการชกป้องกันตำแหน่งแชมป์รุ่นไลท์เวทเทวีราชดำเนิน โดยเริ่มแข่งขันหน้าที่ประทับ ระหว่าง เด่น ศรีโสธร กับ เด่นธรณี เมืองสุรินทร์ การต่อสู้เป็นไปอย่างระมัดระวังตัวทั้งคู่ เด่นธรณี อาศัยความเจนจัดเข้าเร็วออกเร็วจน เด่น ศรีโสธร ตามไม่ทัน แต่ เด่น ศรีโสธร ก็มาตีตื้นขึ้นในยกที่ 3 และ 4 เมื่ออาศัยจังหวะจู่โจมตีเข่างามๆ ได้หลายครั้งแต่ก็ไม่อาจสร้างความเจ็บปวดให้ เด่นธรณี ได้มากนัก ยกสุดท้าย เด่นธรณี กลับรวบรวมพละกำลังโหมบุกแบบไม่ยั้ง เมื่อการชกสิ้นสุดลง เด่นธรณี จึงเป็นฝ่ายชนะคะแนนไปเป็นเอกฉันท์ ได้ครองแชมป์รุ่นไลท์เวทคนใหม่
  • คู่ป้องกันแชมป์รุ่นฟลายเวท นกน้อย ศรราม เฆี่ยนเกียรติประทุม พันธ์พังงาน ด้วยคะแนนขาดลอย ได้ครองแชมป์แบบสยายๆ
  • ชิงแชมป์รุ่นแบนตั้มเวท เฉลิมศักดิ์ เพลินจิต โดนศอก อภิศักดิ์ เมืองสุรินทร์ ตาซ้ายเกือบปิดสนิท แต่อาศัยกำลังใจดีกว่าเดินตะลุยเข้าต่อยหมัด อัดเข่า จนอภิศักดิ์ ร่วงกลางเวที แพ้น๊อคไปในยกที่ 3
  • ยอดธง สหายศึก ป้องกันแชมป์รุ่มิดเดิ้ลเวทไว้ได้ โดยใช้ศอกสับ เดชไทย อิทธิอนุชิต หัว หู แตก แพ้ ที เค โอไปในยกที่ 3 หลังจากแลกของแข็งกันดุเดือดตลอดเวลา
  • สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระราชทานถ้วนรางวัล “มวยไทยยอดเยี่ยม” แก่ เฉลิมศักดิ์ เพลินจิต ในวโรกาสทรงเสด็จฯ ทอดพระเนตรมวยรายการ โดยเสด็จพระราชกุศลสมทบทุน “ทุนนักมวยไทย ในมูลนิธิอานันทมหิดล” ครั้งที่ 4 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม 2512 ณ เวทีราชดำเนิน
  • สมเด็จพระบรมโอสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระราชทานเข็มขัดแชมเปี้ยน แก่น่านน้ำ เมืองสุรินทร์ในวโรกาส ทรงเสด็จฯ ทอดพระเนตรมวยการกุศล สมทบทุน “ทุนนักมวยไทย ในมูลนิธิ อานันทมหิดล” ครั้งที่ 4 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม 2512 ณ เทวีราชดำเนิน
  • สิงห์ห้าว ส. ลูกพิทักษ์ เร่งตีนปลายชนะคะแนน บุเรงนอง สิห์ศรทอง ได้ครองแชมป์รุ่นเฟเธอร์เวท
  • แพรดำ เมืองสุรินทร์ ยิงหมัดขวาเข้าปลายคาง ศักดิ์ชาย เลือดสุพรรณ ชนะน็อคยกแรก ได้ครองแชมป์รุ่นจูเนียร์ไลท์เวท
  • สากล 8 ยก เวนิช บ.ข.ส. ตะบันศักดิ์ ศักดิ์ลิขิต คว่ำคาเวทีนับสิบ ยกที่ 6
  • วิทยา เพลินจน แพ้คะแนน ศักดิ์เสือ ลูกอินทนนท์
  • คู่ปิดท้ายรายการป้องกันแชมป์รุ่นจูเนียร์เฟเธอร์เวท น่านน้ำ เมืองสุรินทร์ เสมอกับ โกมินทร์ น้อย ร.ฟ.ท.
6. มวยโดยเสด็จพระราชกุศลครั้งที่ 5
รายการมวยโดยเสด็จพระกุศล ทูลเกล้าฯถวายเงินสมบทบทุน “กองทุนนักมวยไทย ในมูลนิธิอานันทมหิดล” ได้รับการจัดขึ้นอีกครั้ง หลังจากการแข่งขันครั้งที่ 4 ผ่านไป 2 ปี โดยในครั้งที่ 5 นี้ เทียมบุญ อินทรบุตร ผู้ดำเนินการในฐานะเลขานุการคณะกรรมการจัดการแข่งขันมวยโดยเสด็จพระราชกุศลครั้งแรกสุด ได้จัดขึ้นที่สนามมวยทีวีสี 7 เมื่อวันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2514 มวยนัดนี้จัดเป็นรายการชิงแชมเปี้ยนสภามวยอาชีพ (สภามวยอาชีพ ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2514 โดยมีเทียมบุญ อินทรบุตร เป็นประธานสภามวยอาชีพ และจรุง รักชาติ เป็นประธานคณะกรรมการจัดอันดับ)
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแข่งขัน และทรงพระราชทานถ้วยรางวัลพระราชทานแก่นักมวยยอดเยี่ยมในแบบมวยไทย ให้แก่ ศรนักรบ เกียรติวายุภักษ์ และนักมวยยอดเยี่ยมในแบมวยสากล ให้แก้ ถนอมจิต สุโขทัย ด้วย
ผลการแข่งขันโดยละเอียดปรากฏดังนี้
  • ชิงแชมป์รุ่นฟลายเวท เดชสุพรรณ ฮอลลีวู๊ด ชนะคะแนน ใกล้รุ่ง ลูกเจ้าแม่ไทรทอง
  • ชิงแชมป์รุ่นแบนตั้มเวท เฉลิมศักดิ์ เพลินจิต ชนะ (แตก) ที เค โอ วีระชัย ฮ.มหาชัย ยก 3
  • ป้องกันแชมป์รุ่นจูเนียร์เวลเตอร์เวท ศรนักรบ เกียรติวายุภักษ์ ชนะคะแนน เดชนาคา ศรราม รักษาเข็มขัดแชมป์ ไว้ได้และได้ครองถ้วยพระราชทาน
  • ชิงแชมป์รุ่นแบนตั้มเวท ถนอมจิต สุโขทัยไล่ถลุง สมชาย ศุภสมุทร ชนะ ที เค โอ ยก 5 ชนิดฝ่ายหลังหมดทางสู้ ถนอมจิต ได้ครองถ้วยพระราชทาน
7. มวยโดยเสด็จพระราชกุศลครั้งที่ 6
วันนั้น พุธที่ 17 มกราคม พ.ศ.2522  เป็นอีกวันหนึ่ง ที่ประวัติศาสตร์วงการมวยต้องจากรึกกันไว้อีกครั้ง เป็นวันสำคัญที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินประทับทอดพระเนตรการแข่งขันชกมวย ในรายการโดยเสด็จพระราชกุศลฯ สมทบทุน “นักมวยไทย ในมูลนิธิอานันทมหิดล” ณ เวทีราชดำเนิน
มวยไทยเสด็จพระราชกุศลจัดมาแล้ว 5 ครั้ง และประสบความสำเร็จเป็นที่น่าชื่นชมทุกครั้ง นับแต่ครั้งแรกปี  2504 และครั้งที่ 5 ปี 2512 จนถึงรายการนี้ ก็ครบ 18 ปี พอดีสำหรับผู้จัดการแข่งขันรายการนี้ก็คือ แคล้ว ธนิกุล ซึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงเป็นผู้โปรโมทฯ โดยมี นิวัฒน์ เหล่าสุวรรณวัฒน์ และโปรโมเตอร์ประจำของเวทีฯ รวมทั้งหัวหน้าคณะมวย ทุกคณะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
มวยในรายกรชกกันสนุกดุเดือด แต่ก็ไม่วายมีนักมวยถูกไล่ลงอีกรายคือ รณชัย ศูนย์กีฬาหนองกี่ ท่ามกลางเสียงด่าของแฟนมวยรอบสนาม เมื่อคณะกรรมการเรียกชื่อขึ้นไปรับพระราชทานเข็มที่ระลึกจาก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เป็นผู้แทนพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแข่งขัน ดีแต่ว่าตอนถูกไล่ลง ไม่ได้ชกกันต่อหน้าพระพักตร์เท่านั้น
คู่เอก
  • ซึ่งถูกจัดให้ขึ้นชกเป็นคู่สุดท้าย วิชาญน้อย พรทวี หรือ “เสือเฒ่าสารพัดพิษ” จากเมืองนนท์ซึ่งก่อนชก 8 วัน ซ้อมลงนวมกับ “สกัด พรทวี” แต่ไม่รู้ว่าเกิดผิดพลาดอะไรขึ้นทำให้วิชาญน้อย เจอศอกเข้าถึงหัวแตกแผลยังไม่หายสนิทดี แต่วิชาญน้อยก็พยายามชกอย่างสุดฝีมือโดยให้ความเจนจัด และความฉลาดที่เหนือกว่าทั้งเจาะยาง แล้วต่อยท้องสลับเข้าใส่ “ขุนเข่าทะลุฟ้า” ดีเซลน้อย ช.ธนะสุกาญจน์ นักมวยรุ่นน้องที่เตรียมตัวมาสู้อย่างดีเยี่ยมโดยเฉพาะยกที่ 4 เป็นยกที่ วิชายน้อย เร่งต่อยจนดีเซลน้อย ตัวงอและหน้าหวายไปหงายมา เข่าของดีเซลน้อยไม่สามารถสร้างความบอบซ้ำให้วิชาญน้อยเลย เมื่อครบ 5 ยก วิชาญน้อยจึงชนะคะแนนไป ท่ามกลางเสียงตบมือของแฟนมวยทั้งสนาม
คู่รอง
  • ณรงค์น้อย เกียรติบัณฑิต หรือ “ไอ้นาจ” จากกรุงเก่าศรีอยุธยา ความว่องไวและความแข็งแกร่งเป็นรองเผด็จศึก พิษณุราชนย์ แต่ณรงค์น้อยก็สู้อย่างสมศักดิ์ศรี พยายามเดินหน้าเข้าใส่แลกหมดแลกเท้ากับเผด็จศึกได้อย่างน่าชม ยกที่ 2 ณรงค์น้อยเสียจังหวะถูกเตะก้านคอทีหนึ่ง ถึงหล่นลงไปแต่ไม่โดนนับ ต่อจากนั้นณรงค์น้อยก็พยายามต่อยหมัดเพื่อเรียกคะแนนที่เสียไป แต่ก็เข้าไปเจอแข้งเจอเข่าเผด็จศึกจัง ๆ ตลอดเวลา ชกครบ 5 ยก เผด็จศึก ชนะคะแนนไปชาดลอย และได้รับการคัดเลือกให้ครองถ้วยพระราชทาน ในแบบมวยไทย
คู่อื่นๆ
  • สกัด พรทวี หมายมั่นปั้นมือว่าจะต้องน็อค เสกสรร ส.เทพพิทักษ์ ให้คว่ำคาเวทีเหมือนกรชกกันครั้งก่อนแต่เที่ยวนี้เสกสรรซ้อมเตรียมมาแก้ทางมวยเป็นอย่างดี การ์ดมวยอย่างรัดกุมค้ำซ้าย เตะชายโครง และโยนเข่าใส่สกัดจนรับแทบไม่ทันในยก 2 ยก 3, แต่ยก 4 สกัดก็ต่อยหมัดเข้าหน้าเสกสรร หงายไปหลายที แต่ยกสุดท้อยเสกสรรมาแก้คืนโดยเข่าทำคะแนนตีตื้นขึ้นมาได้อีก แล้วชนะคะแนนไปอย่างดุเดือด (ชนิดเจ็บตัวด้วยกัน)
  • หนองคาย ศ.ประภัสสร ฉลาดกว่า และออกอาวุธมวยไทยครบเครื่องกว่า  ชิงเตะก่อนต่อยก่อนทำเอาขาวผ่อง สิทธิชูชัย เป็นรองมาตลอดในสามยก แต่ยกสี่ขาวผ่อง พยายามฟันศอกเข้าใส่ ทำเอาหนองคายถึงโหนกแก้มปูดเป็นลูกมะนาว แต่ยกสุดท้ายขาวผ่อง ดันออกมาเล่นรูปมวย เลยเจอแข้งหนองคายอัดเข้าอีกหลายครั้ง จึงแพ้คะแนนไปอย่างน่าเสียดายแทน
  • เก่งกาจ เกียรติเกรียงไกร ขึ้นชั้นทาบกับ เริงศักดิ์ พรทวี เลยถูกไอ้เริงหรือมนุษย์หินจากบุรีรัมย์ หลอกเตะหลอกต่อยเอาข้างเดียว ไม่มีลุ้นสักยก แล้วเริงศักดิ์ก็ชนะคะแนนไปแบบสบายๆ
  • ประวิทย์ ศรีธรรม นักชกขวัญใจนักเรียน ขึ้นมายกแรกก็ถีบเอา รักแท้ เมืองสุรินทร์ เจ้าของหมัดนรกแตกถึงล้มทั้งยืน แล้วประวิทย์ก็ใช้ฝีมือมวยไทยครบชุด ล่มจนรักแท้เข้าไม่ติดแพ้เละเทะทุกยก ประวิทย์ ก็ชนะคะแนนไปขาดเช่นกัน
  • ตะวันออก ศิษย์พูนชัย ใช้ความใหญ่กว่าเตะ เสมอสิงห์ เทียนหิรัญ จนยืนแทบไม่ติด แล้วชนะคะแนนไปตามฟอร์ม
  • ชาญชัย บูรพามิวสิค ใช้เข่าลุยถึงตัว แก้ว ศิษย์พ่อแดง กระหน่ำตีจนชนะคะแนนไปแบบหืดขึ้นคอ
  • รณชัย ศูนย์กีฬาหนองกี่ สร้างตราบาปให้กับตัวเอง เพราะหมัดตัวเองที่หนัก และรุนแรงไม่เข้าเป้าเลยแถมยังวืด คร่อมหัว เกียรตินนท์ ลูกบ้านพระ ตลอดเวลา จนถึงยกสุดท้าย กรรมการ สมจิต คุ้มชาติ ก็ไล่ลงจากเวทีไปข้อหาชกไม่สมศักดิ์ศรี
  • แมวป่า ศิษย์ช่าง ใช้ความสดและรวดเร็วกว่าทั้งแข้งทั้งเข่าปล้ำตีจนชนะคะแนน วังวนน้อย ลูกมาตุลีแล้วชนะคะแนน
  • ส่วนสากล 2 คู่ จักรเทพ ชูวัฒนะ ชนะคะแนน สุริยะ ปทุมวดี และมนต์สยาม ฮ.มหาชัย “รองแชมป์โลก” ในอดีตใช้ความเก๋ากว่า ตะบันเอา ขาวกระจ่าง ส.ธนิกุล ลงไปนับในยกที่ 5 แล้วชนะคะแนนไปหลังจากชกกันครบยก
  • มนต์สยาม ฮ.มหาชัย รับการคัดเลือก ให้ครองถ้วยพระราชทานแบบสากล
  • สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทองพระเนตร การแข่งขันมวนโดยเสด็จพระราชกุศลสมทบทุน “ทุนนักมวยไทย ในมูลนิธิอานันทมหิดล” ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2522 ในภาพ นายเฉลิม เชี่ยวสกุล ประธานการจัดการแข่งขันกราบบังคมทูลถวายรายงาน และแนะนำคณะกรรมการทราบฝ่าละอองพระบาท
8. มวยโดยเสด็จพระราชกุศลครั้งที่ 7
เวทีราชดำเนินได้ฟื้นฟูขึ้นมาจัดการแข่งขันอีกครั้งหนึ่ง ในวันพฤหัสบดีที่ 22 ธนวาคม 2548 ภายใต้โครงการ “มวยเสด็จพระราชกุศล ทุนนักมวยไทย ในมูลนิธิอานันทมหิดล เฉลิมพระเกียรติทรงครองราชย์ครบ 60 ปี เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลางครบรอง 60 ปี การสถาปนาเวทีราชดำเนิน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติค่ายมวยยนตรกิจ

ภาพการรวมตัวของนักมวยในค่ายมวยยนตรกิจ