ทองใบ ยนตรกิจ


ทองใบ ยนตรกิจ หรือ นายทองใบ สนสร้อย คือเจ้าของฉายา ยางตัน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคนเดียวโดดๆ เขาได้มาค่อนศตวรรษแล้ว จนทุกวันนี้ก็ไม่มีนักมวยคนใดได้ฉายา ยางตัน อีกเลยยางตัน เป็นคำเรียกยางรถจักรยานสองล้อ ซึ่งตามปกติแล้วจะมีสองชั้นคือยางนอกและยางใน แต่ถ้าจะให้เท่สุดต้องใช้ยางตัน ไม่มีแฟบไม่มียุบ ไม่ต้องสูบลม เหมือนล้อรถบด แสดงถึงความแกร่งลุยได้ทุกสภาพถนน ซึ่งบังเอิญตรงกับรูปร่างลักษณะของทองใบ ยนตรกิจ พอดี เขาจึงได้รับฉายาจากหนังสือพิมพ์หมัดมวยสมัยนั้นว่า นายยางตันทองใบ สนสร้อย เป็นคนกรุงเทพฯ เกิดที่บางเขน เมื่อพ.ศ.2465 เป็นศิษย์รุ่นแรกของเตี่ยตันกี้ บรมครูแห่งค่ายยนตรกิจ เริ่มหัดมวยตั้งแต่เป็นนักเรียนวัดสะพานสูง มาหัดเพิ่มเติมกับเตี่ยตังกี้เมื่ออายุ 18 ขึ้นชกมาตั้งแต่เวทีสวนเจ้าเชตุ เวทีหลักเมือง กระทั่งถึงเวทีราชดำเนินยุคแรกหลังสงครามโลกครั้งที่สองโชกโชนมานับร้อยครั้ง เฉพาะเกียรติประวัติที่สำคัญๆ ก็คือได้เสื้อสามารถมวยรอบ 4 เสือลายพาดกลอน โดยชนะคะแนน หมีดำเปงสูน เทียมกำแหง ที่เวทีราชดำเนินรางวัลถึง 5,500 บาท เคยชนะคะแนนอุสมาน ศรแดง ในการชกที่ลือลั่นที่สุดเมื่อปี 2493 ชนะน็อกพรหมมินทร์ นวรัตน์, เสมอสดใส นฤภัย, ผลัดกันแพ้-ชนะ กับผล พระประแดง นับครั้งไม่ถ้วน เคยปล่อยน้ำหนักขึ้นชกกับประยุทธ อุดมศักดิ์ มวยมิดเดิลเวต เสมอกัน1ครั้ง แพ้คะแนน1ครั้ง นายทองใบเคยขึ้นชกมวยสากลจนได้ชิงแชมป์ไลต์เวต แพ้คะแนนออมทรัพย์ แหลมฟ้าผ่า หนหลังสุดชกมวยไทยแพ้คะแนนพันธ์ศักดิ์ วิถีชัยมวยรุ่นหลาน เลยประกาศแขวนนวมเมื่ออายุ 35 ปี นายทองใบรับราชการเป็นครูฝึกวิชาป้องกันตัวที่ ร.ร.นายร้อยตำรวจสามพราน และได้ทำหน้าที่ครูฝึกนักเรียนนายร้อยตำรวจสามพรานมาตลอด จนได้เลื่อนยศเป็นร.ต.ต. กระทั่งครบเกษียณถึงแก่กรรมเมื่อ 8 พ.ย.2542 อายุ 77 ปี

ความคิดเห็น

  1. นายทองใบสนสร้อย เป็นบุตรนายสาย สนสร้อย นางกระจ่าง ม่วงเงิน
    เป็นบุตรคนที่สี่ในจำนวนพี่น้องทั้งสิ้นเจ็ดคน เนื่องจากมารดาเสียชีวิตตั้งแต่คลอดน้องชายคนสุดท้อง หัวหน้าครอบครัวเข้าโรงฝิ่น ที่นาของครอบครัวถูกคณะรัฐบาลขณะนั่นเวนคืนเป็น สนานกลอฟการรถไฟในปัจจุบัน ครอบครัวลำบากเป็นอย่างมาก พี่ชายคนโตต้องบวชเณรเพื่อนำข้าววัดมาให้น้อง ๆ ที่บ้านกิน นายทองใบจึงต้องทำงานหนักมาแต่เด็กช่วยเหลือพี่สาวอีกหนึ่งคนรับจ้างทำงานทุกชนิด จนกระทั่งได้รับความช่วยเหลือเอ็นดูสอนมวยให้ที่บ้านเตี่ยตันกี่ ยตรกิจ จึงได้กลายเป็นนักมวยที่มีชื่อเสียงของค่ายยนตรกิจ แต่น่าเสียดายที่ชีวิตของยางตันไม่ได้สุขสมหวังเหมือนบนสังเวียนเลยตั้งแต่เกิดจนสิ้นอายุขัย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. นักมวยเก่าๆช่วงชีวิตที่อยู่บนสังเวียนเป็นอะไรที่เหมือนกับคนถูกรางวัลที่หนึ่ง บ้างคนที่เก็บออมเป็นปัจจุบันก็ยังมีเงินเหลือใช้ บ้างคนใช้จ่ายหมดด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการหรือด้วยความจำเป็นก็ดีนั้นทำให้เกิดความขัดสนในตอนที่ตนอายุเยอะขึ้น เหมือนกับนักมวยปัจจุบันที่ไปชกมวยกลับมาได้เงินเป็นล้านแต่ใช้เงินนั้นไม่ถึง 10 ปีก็หมดไป แต่ไม่ได้คำนึงถึงเมื่อตนอายุเยอะขึ้นแล้วจำเป็นต้องมีเงินรักษาตัวเพราะการชกมวยนั้นจะทำให้เกิดปัญหาทางร่างกายเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็น เรื่องสายตา ความทรงจำ ระบบประสาท เป็นต้น เงินที่ได้มาจากการชกมวยจึงควรแบ่งใช้แบ่งเก็บเพื่อช่วงชีวิตยามอก่เฒ่าด้วย(เรื่องนี้เป็นกันทุกยุคทุกสมัย)

      ลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การชกมวยชิงถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่9

ประวัติค่ายมวยยนตรกิจ

ภาพการรวมตัวของนักมวยในค่ายมวยยนตรกิจ