จุดเริ่มต้นการจัดอันดับ 2 (สนามมวยราชดำเนิน)

ทำเนียบแชมเปี้ยนมวนสากลชุดแรก
จากนั้น คณะกรรมการฯได้ดำเนินการจัดอันดับและจัดชิงแชมเปี้ยน หรือ “ผู้ชนะเลิศ” มวยสากล 5 รุ่นในวาระและโอกาสต่างๆ กันเป็นผลสำเร็จในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2490 – 2491 ตามลำดับโดยมีตำแหน่งรองแชมเปี้ยนเพียงรุ่นละ 3 อันดับดังนี้ คือ...


น้ำหนัก 112 ปอนด์ หรือเทียบเท่า 8 สะโตน
ผู้ชนะเลิศ ประสงค์ ธำรงเกียรติ




รุ่นฟลายเวต
  1. แสง จอมทอง
  2. ธนู ศรีกำพุช
  3. จิตร ศิษย์ผล
รุ่นแบนตั้มเวต
น้ำหนัก 118 ปอนด์ หรือเทียบเท่า 8 สะโตน 6 ปอนด์
ผู้ชนะเลิศ ชาย ศิษย์ผล
  1. วัลลภ ยนตรกิจ
  2. เล็ก ชมศรีเมฆ
  3. จะเด็ด เลือดชนบท
รุ่นเฟเธอร์เวต
น้ำหนัก 126 ปอนด์ หรือเทียบเท่า 9 สะโตน
ผู้ชนะเลิศ ประสิทธิ์ ส.ส.
  1. เจริญ พงษ์ไทย
  2. นิคม คล่องผจญ
  3. เสริม ศรประเสริฐ
รุ่นไลท์เวต
น้ำหนัก 135 ปอน์ หรือเทียบเท่า 9 สโตน 9 ปอนด์
ผู้ชนะเลิศ ธวัช วงศ์เทเวศร์
  1. สำราญ ศรแดง
  2. ประสิทธิ์ ส.ส.
  3. อุไร ชินนคร
รุ่นเวลเตอร์เวต
น้ำหนัก 147 ปอนด์ หรือเทียบเท่า 10 สะโตน 7 ปอนด์
ผู้ชนะเลิศ เพิก สิงหพัลลภ
  1. ประเสริฐ ส.ส.
  2. ประสิทธิ์ ชมศรีเมฆ
  3. บุญมา เสนานันท์
อันดับมวยไทย
ปี 2492 คณะกรรมการจัดอันดับ อันมี “นายฉันท์ สมิตเวช” ในฐานะผู้แทนหัวหน้าคณะได้รับแต่งตั้งเพิ่มเข้ามาอีกคนหนึ่ง ได้ออกประกาศรับสมัครนักมวยไทยเข้าอันดับรุ่นต่างๆแบบเดียวกับมวยสากล เริ่มรับสมัครวันที่ 16 มกราคม 2492 จนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2492 หมดเขตรับสมัคร
ปรากฏว่ามีหัวหน้าคณะและนักมวย ซึ่งเริ่มเห็นความสำคัญของระบบใหม่มากขึ้นได้พากันยื่นสมัครเป็นจำนวนมากมากกว่าการรับสมัครมวยสากลหลายเท่าตัว ปรากฏตามหลักฐานดังนี้
รุ่นฟลายเวต มีผู้สมัคร 68 คน, รุ่นแบนตั้มเวต 62 คน, รุ่นเฟเธอร์เวต 40 คน และรุ่นไลท์เวต 34 คน
จากนั้นจึงได้มีการจัดอันดับโดยพิจารณาจากระดับฝีมือและผลการชกเคลื่อไหวเป็นเกณฑ์ กระทั้งมีการทยอยจัดชิงแชมเปี้ยนในวาระและโอกาสต่างๆ เพราไม่สามารถจัดชิงในคราวเดียวกันทุกรุ่นได้ โดยเรียกตำแหน่งผู้ชนะเลิศว่า “แชมเปี้ยน” และมีรองแชมเปี้ยนเพียงรุ่นละ 3 อันดับเช่นเดียวกับมวยสากล ปรากฏหลักฐานดังนี้
  • รุ่นฟลายเวต แชมเปี้ยน ขวัญยีน ศิษย์สิงห์
    อันดับ 1 เชิด เลือดกรรมกรไทย. 2 อินทรีย์ ฤทธิงรค์, 3 ชิงชัย ชัยณรงค์
  • รุ่นแบนตั้มเวต แชมเปี้ยน สุวิทย์ สมานฉันท์
    อันดับ 1 พิชัย สทร, 2 สมพงษ์ พงษ์สิงห์, 3 ศิลาชัย ปราสาทหินพิมาย
  • รุ่นเฟเธอร์เวต แชมเปี้ยน สิบทิศ พงษ์สิงห์
    อันดับ 1 เสริม ศรประเสริฐ, 2 ทองอินทร์ ปราสาทหินพิมาย, 3 ชาญชัย พระขรรค์ชัย
- ชาย ศิษย์ผล แชมป์รุ่นแบบตั้มเวตสากล
- ประสิทธิ์ ส.ส. แชมป์รุ่นเฟเธอร์เวตสากล
- ธวัช วงศ์เทเวศร์ แชมป์รุ่นไลท์เวตสากล
- เพิก สิงหพัลลภ แชมป์รุ่นเวลเตอร์เวตสากล
- ประเสริฐ ส.ส. รองแชมป์รุ่นเวลเตอร์เวตสากล
สู่มาตรฐานสากล
ต่อมาใน พ.ศ. 2494 พ.ต.อ. พิชัย กุลละวณิชย์ เลขานุการกรมตำรวจและรักษาการในตำแหน่งผู้บังคับการก่องตรวจตำรวจนครบาล (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น) ซึ่งได้เข้ามามีบทบาทเป็นกรรมการกิตติมศักดิ์ในคณะกรรมการบริหารเวทีราชดำเนินได้รับการแนะนำจา มร.แน็ต แฟลชเชอร์ บรรณาธิการ “เดอะริง” นิตยสารหมัดมายอันทรงอิทธิพลของโลก ให้ติดต่อนายทหารอเมริกันคนหนึ่งซึ่งประจำการอยู่ที่ฐานทัพสหรัฐในฟิลิปปินส์ ชื่อ “พ.ต.ซุลลิแวน” ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกฎกติกาเกี่ยวกับกีฬามวยให้มาช่วยวางระบบเพื่อยกระดับวงการมวยเมืองไทยขึ้นสู่มาตรฐานสากล
ประเทศไทยจึงได้เริ่มใช้มาตรการชั่งน้ำหนักนักมวยเป็นปอนด์ (2.2 ปอนด์เท่ากับ 1 กิโลกรัม) เป็นระบบเดียวกันทั้งหมด ตั้งแต่ครั้งนั้นต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน กล่าวสำหรับประเทศไทย ในช่วง 10 ปีแรกนั้น ได้แบ่งพิกัดน้ำหนักนักมวยออกเป็น 6 รุ่น ต่อมาจึงได้อนุวัตน์ตามแบบสากล ด้วยการปรับลดจุดต่างของน้ำหนักระหว่างรุ่นต่อรุ่น (เดิม) ในแคบลงและแทรกรุ่นใหม่เพิ่มเข้าไปโดยใช้คำว่า “ซูเปอร์” นำหน้าชื่อรุ่นที่ตั้งใหม่ เช่น รุ่นฟลายเวต 112 ปอนด์ รุ่นซูเปอร์ฟลายเวต 115 ปอนด์ รุ่นแบนตั้มเวต 118 ปอนด์ รุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวต 122 ปอนด์ เป็นต้น (ยกเว้น 2 รุ่นเลาสุด คือ มินิมัมเวตและไลท์ฟลายเวต) ส่งผลให้ประเทศไทยมีอันดับนักมวยถึง 13 รุ่นในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจด้วยว่า แต่ละรุ่นได้จัดตั้งขึ้นในวาระต่างๆ กัน มิได้ตั้งขึ้นพร้อมกันในคราวเดียวทั้งหมด
  • ขวัญยืน ศิษย์สิงห์ แชมป์ฟลายเวตคนแรก
  • สวงษ์ ใจมีบุญ แชมป์เฟเธอร์เวตคนแรก
  • ศักดิ์ชัย นาคพยัคฆ์ แชมป์มิดเดิลเวตคนแรก
  • บุญมี แม่ฉมัง แชมป์เวลเตอร์เวตคนแรก
  • เด่น ศรีโสธร แชมป์ซูเปอร์เฟเธอร์เวตคนแรก
  • อนันตเดช ศิษย์หิรัญ แชมป์สากลซูเปอร์แบนตั้มเวต (จูเนียร์เฟเธอร์) คนแรก

ความคิดเห็น

  1. อยากดูภาพการชกระหว่างสายเพร็ช ยนตรกิจ กับหย่วน นฤภัยถ้ามีแจ้งด้วย
    ที่ mail arant1@yahoo.co.th

    ตอบลบ
  2. ขอดูภาพการชกระหว่าง สายเพร็ช ยนตรกิจ กับ หย่วน นฤภัย ถ้ามีกรุณาส่งให้ผมด้วย arant1@yahoo.co.th ติดต่อโทร 0860162000

    ตอบลบ
  3. ผมไม่มีรูปการชกมวยระหว่าง สายเพชร ยนตรกิจ กับ หย่วน นฤภัย คัรบ แล้วผมจะลองถามคุณสายเพชรให้ว่าท่านเก็บไว้ไหม แต่คงต้องรอนานนิดนึงนะครับ ช่วงปลายเดือนกันยายนผมจะแจ้งอีกทีนะครับ

    ตอบลบ
  4. ไม่ทราบว่ามีการชกของ ประสิทธิ์ ส.ส. บ้างมั้ยคับ แมตช์ไหนก็ได้ สำคัญๆ คับ arthit_art@hotmail.com

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การชกมวยชิงถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่9

ประวัติค่ายมวยยนตรกิจ

ภาพการรวมตัวของนักมวยในค่ายมวยยนตรกิจ