จุดเริ่มต้นการจัดอันดับ 1 (สนามมวยราชดำเนิน)

หลังจากจัดมวยรอบชื่อสิงสาราสัตว์ต่างๆดังกล่าวมาได้ระยะหนึ่งแล้ว นักขึ่นคนสำคัญ คือ “สมิงกะหร่อง” (ครูมาลัย ชูพินิจ) ได้เขียนบทความเชิงเสนอแนวคิดลงฝนนิตยสาร “กีฬา” ใจความว่า “ขณะนี้ทางสนามได้ดำเนินงานเป็นปึกแผ่นดีแล้ว น่าที่จะหานักมวยชนะเลิศประจำรุ่นและมีการจัดอันดับเป็นมาตรฐานตามแบบสากลเสียที...”
บทความ “นำร่อง” ชิ้นนี้เอง ที่มีอิทธิพลส่งผลให้ “พระยาจินดารักษ์” หัวหน้าชุดทำงานเวทีราชดำเนินนำเรื่องไปเสนอ “นายเฉลิม เชี่ยวสกุล” ในฐานะประธานเวทีฯเพื่อขอรับนโยบาย ซึ่งก็ปรากฏว่าได้รับความเห็นชอบ จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อวางหลักเกณฑ์และดำเนินการตามที่เสนอ “คณะกรรมการจัดอันดับนักมวย” ชุดแรกในประวัติศาสตร์วงการมวยเมืองไทย ประกอบด้วย
  1. หลวงธุระกิตติวัณณาการ
  2. นายวงศ์ หิรัณยเลขา
  3. ม.จ.สุวิชากร วรวรรณ
  4. นายเจือ จักษุรักษ์
  5. นายชิต อัมพวลิน
จากนั้นได้ออกประกาศรับสมัครนักมวยที่ประสงค์จะเข้าอันดับรุ่นต่างๆ เฉพาะ “มวยไทย” ประเภทเดียวก่อน แต่ปรากฏว่ามีสมัครกันน้อยมากเพียงไม่กี่คน จำนวนไม่พอที่จะจัดวางตัวเข้าอันดับได้ ทั้งนี้ว่ากันว่า นอกจากการจัดอันดับนักมวยเป็นของใหม่สำหรับประเทศไทย แล้วยังอ่อนประชาสัมพันธ์อีกต่างหากประกอบกับหัวหน้าคณะส่วนใหญ่ก็ไม่เห็นความสำคัญของ “แชมเปี้ยน” กันสักเท่าไร โดยยังมีความรู้สึกฝังใจอยู่ว่า การได้เป็น “นักมวยเสื้อสามารถ” แบบเก่านั้นดูเท่กว่าเป็นไหนๆ ผลก็คือ ต้องระงับแผนการจัดอันดับ “มวยไทย” ไว้ก่อนโดยปริยาย
ปี พ.ศ.2490 คณะกรรมการจัดอันดับได้ออกประกาศรับสมัครนักมวยเข้าอันดับในรูปแบบเดิม แต่ได้เน้น “มวยสากล” จำนวน 5 รุ่น ก่อนเป็นการเฉพาะการณ์ กลับปรากฏว่ามีนักมวยแห่กันไปสมัครอย่างล้นหลามเกินคาด กล่าวคือในรุ่นฟลายเวตมีผู้สมัครถึง 46 คน รุ่นแบนตั้มเวต 25 คน รุ่นเฟเธอร์เวต 12 คน รุ่นไลท์เวต 8 คน และรุ่นเวลเตอร์เวต 4 คน สองรุ่นแรกต้องแบ่งออกเป็น 2 สายโดยจับสลากประกบคู่ เพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้มีคะแนนสูงกว่าในแต่ละสายเข้าอันดับต่อไป ทั้งนี้ โดยได้ระบุพิกัดน้ำหนักรุ่นทั้งแบบเก่าและแบบใหม่กำกับไว้ด้วยเพื่อป้องกันความสับสน ดังนี้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การชกมวยชิงถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่9

ประวัติค่ายมวยยนตรกิจ

ภาพการรวมตัวของนักมวยในค่ายมวยยนตรกิจ