บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2010

การชกมวยชิงถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่9

มวยโดยเสด็จพระราชกุศล ทุนนักมวยไทย ในมูลนิธิอานันทมหิดล   ขอบเขตการดำเนินงานของเวทีราชดำเนิน ไม่ได้จำกัดบทบาทอยู่ที่ความรับผิดชอบในการส่งเสริมสนับสนุนและเผยแพร่มวยไทย ศิลปวัฒนธรรมการต่อสู้ป้องกันตัว ที่เกิดจากภูมิปัญญาไทยและเป็นมรดกของชาติไทยเท่านั้น แต่ได้สยายปีกและเพิ่มภารกิจความรับผิดชอบเข้าสู้ภาคสังคม เพื่อคุณภาพและความมั่นคงในการดำรงชีวิตของกลุ่มชนผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา และผู้ไม่มีโอกาสที่จะแสวงหารายได้จากแหล่งงานด้านอื่นด้วย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่เปิดการแข่งขันชกมวยนัดปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2488 จนมาถึงบัดนี้เป็นเวลา 60 ปี เวทีราชดำเนินจึงได้กลายเป็นแหล่งงานที่ประชากรของชาติในวัยเยาวชนและวัยหนุ่มฉกรรจ์ หลั่งไหลจากสุกสารทิศและทุกภาคของประเทศ เข้ามาแสวงหารายได้จากการแข่งขันด้วยศิลปะอันยอดเยี่ยมแห่งมวยไทย เพื่อใสวงหาเงินจุนเจือครอบครัวและหาเงินเป็นทุนการศึกษา ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่เพียงแต่จะสร้างความภูมิใจให้กับเวทีราชดำเนินเท่านั้นแต่เป็นกรณีที่ประเทศชาติเองก็ได้รับผลประโยชน์อย่างยิ่ง เมื่อบุคคลผู้เติบโตมาจากการโลดแล่นอยู่บนผืนผ้าใบของเวทีราชดำเนินได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน

งานเด่นของสนามมวยราชดำเนิน

รูปภาพ
งานเด่นราชดำเนิน หลังส่งครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงใหม่ๆ “มวย” คือสุดยอดความมันส์และบันเทิงในยามเย็นประเภทหนึ่งของคนกรุงเทพฯ หลายๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ เวทีราชดำเนินในช่วงเวลานั้นและต่อๆ มา อาจเป็นสิ่งเกินคาดหมายเหนือจินตนาการสำหรับคนรุ่นใหม่วัยมันส์ในวันนี้ ถ้าถือว่าเรื่องใดก็ตามที่ขึ้นต้นว่า ... “ครั้งหนึ่ง..นานมาแล้ว” ..เป็น “ตำนาน” บันทึกอดีตต่อไปนี้ก็น่าจะเรียกว่า “ตำนาน” ได้กระมัง สุข – สมาน ย้อนตำนานไปเมื่อ 57 ปีก่อน มวยรายการที่ “สุข ปราสาทหินพิมาย” ชกกับ “สมาน ดิลกวิลาศ” เมื่อ พ.ศ. 2491 ณ เวทีราชดำเนินนั้น ถือเป็นศึกใหญ่แห่งปีที่แฟนมวยตั้งตาคอยกันทั้งเมือง เพราะทั้งคู่คือสุดยอดมวยไทยรุ่นหนักที่ยังไม่เคยชกกันมาก่อน แม้ว่าจะได้มีความพยายามจัดให้ชกกันหลายครั้งแล้ว แต่ไม่สำเร็จ กระทั่งต้องส่งตัวแทนขึ้นไปติดต่อ “เยนเติ้ลแมน” – สมนา ดิลกวิลาศ ถึงจังหวัดเชียงราย เพราะสมานขึ้นไปเป็นเถ้าแก่วิ่งรถโดยสารอยู่ที่นั่น โดยขอร้องว่า..ช่วยไปปราบ “ยักษ์สุข” ให้หน่อยเถอะ!! นั่นแหละ ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสังเวียนจึงตกลงรับเงิน มัดจำ 3,000 บาท และเดินทางเข้ามาฟิตซ้อมใน กรุงเทพฯ ล่วงหน้ากว่า 1 เดือน หลั

กุมารทอง ยนตรกิจ

นักมวยรุ่นเบาคนหนึ่งซึ่ง "ดัง" พอตัวเมื่อสามสิบกว่าปีก่อนโน้นเป็นดาราเดิมพันที่เที่ยวตระเวน "กิน" เขาไปทั่ว ตั้งแต่เหนือจดใต้ ยันอีสานถือกันว่า เป็นมังกรรุ่นเยาว์ที่เจนจบวิทยายุทธ์ทั้งมวยไทยมวยสากลชนิดหาตัวจับยาก มีสถิติการชกโชกโชนกว่า 200 ไฟต์ เขาคือ...กุมารทอง ยนตรกิจ ศิษย์รุ่นจิ๋วของเตี่ยตันกี้เจ้าสำนัก "ยนตรกิจ" เกิดที่เมืองจีนเมื่อ พ.ศ. 2482 ชื่อจริงๆ "ตังกวย แซ่ลิ้ม" เตี่ยพาอพยพมาเมืองไทยตั้งแต่ตัวเล็กๆ โดยตั้งร้านขายกาแฟอยู่ใกล้ๆ ค่ายมวย ยนตรกิจ ซอยวัดน้อยนพคุณ ราชวัตร เดินส่งกาแฟทุกวันจนคุ้นเคยกับทุกคนในค่าย เจ้ากวยชมชอบเรื่องชกต่อยอยู่แล้ว จึงเริ่มหัดชกหัดต่อยจากแบบที่เห็นรุ่นใหญ่เขาหัดกัน จนคล่องแคล่วไปทุกกระบวน แต่ไม่ได้ชก เพราะยังตัวกะเปี๊ยกอยู่มาก เจ้ากวย ได้ขึ้นชกมวยจริงๆ เมื่ออายุ 16 ปี ในชื่อ "กุมารทอง ยนตรกิจ" ความที่เป็นหนุ่มลูกจีน ผิวขาว รูปร่างผอมบาง แต่ชกสนุกหนักหนาจึงได้รับความเอ็นดูจากแฟนมวยเป็นพิเศษและดังขึ้นอย่างรวดเร็ว สมัยที่เป็นแฟนมวยชาวไทยเห่อมวยจีน กุมารทองเคยถูกพาปลอมชื่อเป็น "หลีง่วนป่า" อ

ข้อแก้ไข เรื่องการชกมวยกันถึงตาย มวยคู่นายตันกี้ ยนตรกิจ

ข้อความจากเว็ปไซต์ http://www.samkhum.com/webboard/index.php?topic=189.0  พิมพ์ว่า  มวยสมัยโบราณที่ชกกันถึงตายก็คือ มวยคู่ของครูตันกี้ ยนตรกิจ กับ โนรีซึ่งเป็นมวยไชยา ครูตันกี้ ยนตรกิจ ก็เป็นต้นตำรับฉบับม้าย่อง ทีนี้โนรีชก ทั้ง ๖ วันเนี่ยไม่มีใครสู้ได้เลยนะครับ แล้วก็ไปชกลูกศิษย์ครูตันกี้ ครูตันกี้ก็โมโหขึ้นชกในวันที่ ๗ ขึ้นไปชกปั๊ป ครูตันกี้ก็ชกกับโนรี โนรี ก็กระโดดข้ามหัว อีท่าไหนไม่รู้ อาจจะชก อาจจะอะไรไม่ทราบนะครับ กระโดดข้ามหัว เอาส้นเท้าเตะหน้าผากครูตันกี้แตก ครูตันกี้ก็โมโห ทีนี้ก็เข้าไปเบียด เบียดปั๊ป ควักลูกตาหลุดเลยนะครับ ครูตันกี้ควักลูกตาโนรีหลุดเลย โนรีก็โมโหเหมือนกัน ก็ให้พี่เลี้ยงตัดสายตาที่ห้อยออกมาทิ้ง ครูตันกี้ก็ไปเบียด หักแขนอีก เหลือตาข้างเดียว มองอะไรก็ไม่ค่อยเห็นแล้วใช่ไหมฮะ เข้าหักแขนอีก ก็แพ้ ไป แล้วก็ไปเป็นบาดทะยักตายที่บ้าน.... ความจริงคือ ครูตันกี้ ยนตรกิจ ได้ชกกับนักมวยไชยาชื่อโนรี ท่านได้ชกท่าที่ตนถนัดคือควักลูกนัยตาของคู่ต่อสู้ การชกกันในครั้งนี้ได้ขึ้นชกเป็นเวลา1วันเท่านั้น และไม่ได้ให้ลูกศิษย์ขึ้นชกกัน 6วัน เพราะสมัยนั้นยังไม่มีมีการจัดตั้งค่ายมวยและไ

สายเพชร ยนตรกิจ

รูปภาพ
สายเพ็ชรมีนามจริงว่า "ซอฮั่ง แซ่หลาย" เกิดบนผืนแผ่นดินใหญ่ ที่หมู่บ้านตระกูลหลาย เมืองโผวเล้ง วันเกิดของเขาตามปฏิทินจีนคือวันชิวอิด เดือนแปด ตรงกับปฏิทินสากลคือวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๔๗๕ เป็นบุตรคนโตของนายหล่งจ๋าย แซ่หลาย และนางอั่งย้ง แซ่พัว มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๔ คน เป็นชายล้วน เมื่อเขาอายุได้เพียง ๑๐ ขวบ บิดาก็เสียชีวิตลง ต่อมาน้องที่ ๓ ก็ต้องเสียชีวิตไปอีกคน ส่วนน้องคนเล็กสุดญาติขอไปเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรม อีก ๒ ปีต่อมาปู่ก็เสียชีวิตลงอีก ประกอบกับเวลานั้นเมืองโผวเล้งต้องประสบภัยแล้ง และที่ดินทำนาก็มีอยู่น้อย แม่จึงตัดสินใจพาเขากับน้องคนรองเดินทางมาตายเอาดาบหน้าที่เมืองไทย ซึ่งเวลานั้นตาและญาติผู้ใหญ่ทางฝ่ายแม่ได้เดินทางมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่เพชรบุรีก่อนหน้านี้หลายปีแล้ว เวลานั้นสงครามโลกสงบลงแล้ว เขามีอายุราว ๑๒-๑๓ เท่านั้น ทั้ง ๓ แม่ลูกเดินทางโดยเรือสินค้ารอนแรมทะเลมานับเดือนจึงถึงเมืองไทย "ผมเกือบเลี้ยงปลาซะแล้ว" เขาเล่าถึงระหว่างทางที่เดินทางมา "มาเรือสินค้าต้องอยู่ใต้ท้องเรือ หน้าต่างก็ไม่มี มันร้อนจนทนไม่ไหว ผมเลยหนีขึ้นไปนอนบนดาดฟ้าเรือ แม่ก็ไม่รู้ ไม่

ทองใบ ยนตรกิจ

รูปภาพ
ทองใบ ยนตรกิจ หรือ นายทองใบ สนสร้อย คือเจ้าของฉายา ยางตัน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคนเดียวโดดๆ เขาได้มาค่อนศตวรรษแล้ว จนทุกวันนี้ก็ไม่มีนักมวยคนใดได้ฉายา ยางตัน อีกเลยยางตัน เป็นคำเรียกยางรถจักรยานสองล้อ ซึ่งตามปกติแล้วจะมีสองชั้นคือยางนอกและยางใน แต่ถ้าจะให้เท่สุดต้องใช้ยางตัน ไม่มีแฟบไม่มียุบ ไม่ต้องสูบลม เหมือนล้อรถบด แสดงถึงความแกร่งลุยได้ทุกสภาพถนน ซึ่งบังเอิญตรงกับรูปร่างลักษณะของทองใบ ยนตรกิจ พอดี เขาจึงได้รับฉายาจากหนังสือพิมพ์หมัดมวยสมัยนั้นว่า นายยางตันทองใบ สนสร้อย เป็นคนกรุงเทพฯ เกิดที่บางเขน เมื่อพ.ศ.2465 เป็นศิษย์รุ่นแรกของเตี่ยตันกี้ บรมครูแห่งค่ายยนตรกิจ เริ่มหัดมวยตั้งแต่เป็นนักเรียนวัดสะพานสูง มาหัดเพิ่มเติมกับเตี่ยตังกี้เมื่ออายุ 18 ขึ้นชกมาตั้งแต่เวทีสวนเจ้าเชตุ เวทีหลักเมือง กระทั่งถึงเวทีราชดำเนินยุคแรกหลังสงครามโลกครั้งที่สองโชกโชนมานับร้อยครั้ง เฉพาะเกียรติประวัติที่สำคัญๆ ก็คือได้เสื้อสามารถมวยรอบ 4 เสือลายพาดกลอน โดยชนะคะแนน หมีดำเปงสูน เทียมกำแหง ที่เวทีราชดำเนินรางวัลถึง 5,500 บาท เคยชนะคะแนนอุสมาน ศรแดง ในการชกที่ลือลั่นที่สุดเมื่อปี 2493 ชนะน็อกพรหมมินทร์ น

เขียวหวาน ยนตรกิจ

รูปภาพ
เขียวหวาน ยนตรกิจ หรือ พ.อ. บุญส่ง เกิดมณี เกิดเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2481 ที่กรุงเทพฯ ประวัติ เขียวหวานเริ่มหัดชกมวยกับชัยยุธ ยนตรกิจ ขึ้นชกมวยไทยในชื่อ เขียวหวาน ยนตรกิจ สร้างชื่อเสียงด้วยพลังหมัดซ้ายที่หนักหน่วง ชนะนักมวยที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น สุรชัย ลูกสุรินทร์ คีรีรัตน์ บาร์โบส อิศรศักดิ์ พันท้ายนรสิงห์ สามารถ ศรแดง จนหาคู่ชกไม่ได้จึงหันมาชกมวยสากล หลังจากชกมวยสากลได้ครั้งเดียว เขียวหวานถูกประกบคู่ให้เจอกับ ดาวทอง สิงหพัลลภ นักมวยรุ่นพี่ที่เป็นอดีตแชมป์ OPBF ผลปรากฏว่าเขียวหวานเป็นฝ่ายชนะน็อค และทำให้ดาวทองแขวนนวมเลิกชกมวยสากลไปเลย จากนั้น เขียวหวานหันไปชกมวยไทยกับนักมวยดาวรุ่งชื่อดังในขณะนั้น คือ อภิเดช ศิษย์หิรัญ ซึ่งเขียวหวานเป็นฝ่ายแพ้คะแนนไป จากนั้นเขียวหวานหยุดชกมวยไทย หันมาเอาดีทางด้านมวยสากล จนได้ครองแชมป์ OPBF รุ่นจูเนียร์มิดเดิลเวท แต่หลังจากน้น เขียวหวานร้างคู่ชก จนมีปัญหาในการทำน้ำหนัก เมื่อขึ้นชกจึงพ่ายแพ้ติดต่อกันหลายครั้งจนเสียแชมป OPBF ไปในที่สุด จากนั้นเขียวหวานจึงแขวนนวมหันไปรับราชการเป็นทหารบก ได้เข้าศึกษาจนจบปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต(กศ.บ.)จาก วิทยาลัยว

สมเดช ยนตรกิจ

รูปภาพ
สมเดช ยนตรกิจ หรือ นายสำรวย ธานี เกิดเมื่อ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ที่ จ.สุพรรณบุรี สถิติการชก 18 ครั้ง ชนะ 24 (น็อค 12) เสมอ 1 แพ้ 5 ประวัติ สมเดชหัดมวยครั้งแรกกับครูกู้ ควรตั้ง และครูผวน กาญจนกาศ จากนั้นเข้ามาชกมวยในกรุงเทพฯ โดยมาอยู่ที่ค่ายสมานฉันท์ของครูฉันท์ สมิทเวช ในชื่อสมเดช สมานฉันท์ ขึ้นชกครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2491 ชนะน็อค ทวี นฤภัย ยกแรก และชกคู่ชกแพ้น็อคอีกหลายคน จนกระทั่งน็อกไพศาล พระขรรค์ชัยไม่ได้ จึงถูกแฟนมวยในยุคนั้นวิจารณ์ว่าหมัดไม่หนักจริง สมเดชจึงย้ายไปอยู่ค่ายยนตรกิจของครูตันกี้ ยนตรกิจ ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านการฝึกมวยหมัด เมื่อย้ายค่ายแล้ว สมเดชขึ้นชกชนะน็อคคู่ชกด้วยหมัดอีกหลายครั้ง จนได้รับคัดเลือกเข้าชกในมยรอบรุ่น 7 สิงห์ทอง ซึ่งสมเดชคว้าแชมป์มาครองได้ การชกที่สร้างชื่อเสียงให้สมเดชมากที่สุดคือ ชนะน็อค ประยุทธ อุดมศักดิ์ ยก 2 เมื่อชกมวยไทย ชนะคู่ชกด้วยหมัดหลายครั้ง ผู้สนับสนุนจึงให้สมเดชหันมาชกมวยสากลดูบ้าง ขึ้นชกครั้งแรก ชนะน็อค ถวัลย์ วงศ์เทเวศน์ ยก 2 ต่อมาจึงได้ชิงแชมป์ OPBF รุ่นเวลเตอร์เวทที่ว่าง ชนะคะแนน ฮาชิโร ทัตสุมิ ที่เวทีราชดำเนินอย่างพลิกความคาดหมายเพ

Boxer's first King's Cup Thailand

รูปภาพ
13 November 2504  1. Mr Nom Sak Yontarakit to King's Cup championship boxing category. From His Majesty the King Rama 9 with the fight with Mr. Adul Sri sothon. History of Thailand is the first time that a boxer has been King's Cup boxing type NOT. Lord of King Bhumibol Adulyadej Rama 9, and a visit by His Majesty himself. 2. Mr. Bun Song Ked Ma Ne, or November. A. Mani was born Bun King's Cup championship boxing category. From His Majesty the King Rama 9 by the punch with Kang Sae Chung million. History of Thailand is the first time that a boxer has been King's Cup boxing category. Lord of King Bhumibol Adulyadej Rama 9, and a visit by His Majesty himself.  

นักมวยถ้วยพระราชทานคนแรกของประเทศไทย

รูปภาพ
วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2504 1. นายนำศักดิ์ ยนตรกิจ ได้ชิงแชมป์ถ้วยพระราชทานประเภทมวยไทย จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยขึ้นชกกับนายอดุลย์ ศรีโสธร เป็นประวัติศาสตร์ครั้งแรกของประเทศไทยที่มีนักมวยได้รับถ้วยพระราชทานประเภทมวยไมย จากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  รัชกาลที่ 9 และพระองค์ทรงเสด็จทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง 2. นายเขียวหวาน ยนตรกิจ หรือพ.อ.บุญส่ง เกิดมณี ได้ชิงแชมป์ถ้วยพระราชทานประเภทมวยสากล จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9  โดยขึ้นชกกับ กัง แซ ชุล เป็นประวัติศาสตร์ครั้งแรกของประเทศไทยที่มีนักมวยได้รับถ้วยพระราชทานประเภทมวยสากล จากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  รัชกาลที่ 9 และพระองค์ทรงเสด็จทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง

History outlets Yontarakit

Founder, Mr. Tan Kee Yontarakit. Established late King Rama 6. He said a first attempt, Mr.Tongbui Location of outlets at Samsen Soi peace, located near Bangkok Noi Noppakhun measure. Separate row Ratchawat Bangkok

ประวัติค่ายมวยยนตรกิจ

ผู้ก่อตั้งค่ายมวย นายตันกี้   ยนตรกิจ ก่อตั้งขึ้นสมัยปลายรัชกาลที่ 6 ลูกศิษย์คนแรกชื่อ นายทองใบ สถานที่ตั้งของค่ายมวย อยู่ที่ ซอยสันติสุข สามเสน กรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับวัดน้อยนพคุณ แถวแยกราชวัตร กรุงเทพฯ นักมวยที่มือชื่อเสียงรุ่นแรกๆของนายตันกี้ ยนตรกิจผู้ประสิทธิประสาทวิชาความรู้ก็มี 1. ทองใบ ยนตรกิจ หรือ ทองใบ สนสร้อย 2. เสริม ยนตรกิจ (เข่าเหล็ก) 3. แนบ ยนตรกิจ (แมวป่าหน้าหนู ) 4. เกียรติ ยนตรกิจ 5. เชาว์ ยนตรกิจ (พะงางาม) 6. วัลลภ ยนตรกิจ ( หมัดซิยิ่งกุ้ย ) 7. ชม ยนตรกิจ ( หมัดเมืองแร่ ) 8. สายเพชร ยนตรกิจ 9. สมเดช ยนตรกิจ หรือ นายสำรวย ธานี (ซ้ายมฤตยู หรือ ซ้ายฟ้าผ่า) 10. ประดับ ยนตรกิจ ครั้นเมื่อนายตันกี้ ยนตรกิจ ถึงแก่กรรม ผู้ที่เป็นเจ้าของค่ายมวยต่อมาคือ นายชัยยุธ ยนตรกิจ กับ นางไข่มกด์เดชอำนาจ (ยนตรกิจ) บุตรชายและบุตรสาวของนายตันกี้ ยนตรกิจ