บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2010

จัดอันดับนักมวย สนามมวยลุมพินี

นอกจากการจัดมวยรอบตามแผนสร้างดาวรุ่งที่ได้ตัวผู้ชนะเลิศในแต่ละรุ่นเช่น รอบจ้าวอากาศ-สายฟ้า ลูกชาวเหนือ, รอบจ้าวสมุทร-เขียวหวาน ยนตรกิจ, รอบจ้าวแผ่นดิน-อดุลย์ ศรีโสธร และรอบจ้าวปฐพี-แดนชัย ยนตรกิจ เป็นต้นแล้วก็มีการจัดอันดับนักมวยทั้งไทยและสากลเพื่อพัฒนาไปสู่มาตรฐานสากลควบคู่กันไปด้วย โดยคัดเลือกคณะกรรมการจัดอันดับขึ้น   ชุดแรกมีนายแพทย์สุประเกตุ จารุดุล เป็นประธานประกอบด้วยผู้สันทัดกรณีทั้งหัวหน้าคณะมวยและสื่อมวลชนร่วมกันเป็นกรรมการ ในช่วงแรกนั้นทางสนามมวยยังไม่มีห้องประชุมเป็นของตนเองจึงได้ขออาศัยห้องประชุมกองพลที่ 1 เป็นที่ประชุมในระยะแรกนั้น การจัดอันดับนักมวยได้ปฏิบัติตามหลักสากล คือจัดเพียง 6 รุ่นทั้งมวยไทย-มายสากล ซึ่งเมื่อมีการชิงแชมเปี้ยนขึ้นตามระเบียบในเวลาต่อมาจึงปรากฏตำนายแชมเปี้ยนคนแรกแต่ะละรุ่นของสนามมวยเวทีลุมพินีดังต่อไปนี้ มวยไทย รุ่นฟลายเวต (122 ปอนด์) พรชัย รัตนสิทธิ์โดยชนะอดุลย์ ศรีโสธร รุ่นแบนตั้มเวต (118 ปอนด์) ประเสริฐชัย เทิดเกียรติพิทักษ์ โดยชนะ ศักดิ์น้อย เจริญเมือง รุ่นเฟเธอร์เวต (126 ปอนด์) ศักดา ยนตรกิจ โดยชนะอิศรศักดิ์ พันท้ายนรสิงห์ รุ่นไลด์เวต (135 ปอ

จุดเริ่มต้นการจัดอันดับ 2 (สนามมวยราชดำเนิน)

รูปภาพ
ทำเนียบแชมเปี้ยนมวนสากลชุดแรก จากนั้น คณะกรรมการฯได้ดำเนินการจัดอันดับและจัดชิงแชมเปี้ยน หรือ “ผู้ชนะเลิศ” มวยสากล 5 รุ่นในวาระและโอกาสต่างๆ กันเป็นผลสำเร็จในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2490 – 2491 ตามลำดับโดยมีตำแหน่งรองแชมเปี้ยนเพียงรุ่นละ 3 อันดับดังนี้ คือ... น้ำหนัก 112 ปอนด์ หรือเทียบเท่า 8 สะโตน ผู้ชนะเลิศ ประสงค์ ธำรงเกียรติ รุ่นฟลายเวต แสง จอมทอง ธนู ศรีกำพุช จิตร ศิษย์ผล รุ่นแบนตั้มเวต น้ำหนัก 118 ปอนด์ หรือเทียบเท่า 8 สะโตน 6 ปอนด์ ผู้ชนะเลิศ ชาย ศิษย์ผล วัลลภ ยนตรกิจ เล็ก ชมศรีเมฆ จะเด็ด เลือดชนบท รุ่นเฟเธอร์เวต น้ำหนัก 126 ปอนด์ หรือเทียบเท่า 9 สะโตน ผู้ชนะเลิศ ประสิทธิ์ ส.ส. เจริญ พงษ์ไทย นิคม คล่องผจญ เสริม ศรประเสริฐ รุ่นไลท์เวต น้ำหนัก 135 ปอน์ หรือเทียบเท่า 9 สโตน 9 ปอนด์ ผู้ชนะเลิศ ธวัช วงศ์เทเวศร์ สำราญ ศรแดง ประสิทธิ์ ส.ส. อุไร ชินนคร รุ่นเวลเตอร์เวต น้ำหนัก 147 ปอนด์ หรือเทียบเท่า 10 สะโตน 7 ปอนด์ ผู้ชนะเลิศ เพิก สิงหพัลลภ ประเสริฐ ส.ส. ประสิทธิ์ ชมศรีเมฆ บุญมา เสนานันท์ อันดับมวยไทย ปี 2492 คณะกรรมการจัดอันดับ อันมี “นายฉัน

จุดเริ่มต้นการจัดอันดับ 1 (สนามมวยราชดำเนิน)

หลังจากจัดมวยรอบชื่อสิงสาราสัตว์ต่างๆดังกล่าวมาได้ระยะหนึ่งแล้ว นักขึ่นคนสำคัญ คือ “สมิงกะหร่อง” (ครูมาลัย ชูพินิจ) ได้เขียนบทความเชิงเสนอแนวคิดลงฝนนิตยสาร “กีฬา” ใจความว่า “ขณะนี้ทางสนามได้ดำเนินงานเป็นปึกแผ่นดีแล้ว น่าที่จะหานักมวยชนะเลิศประจำรุ่นและมีการจัดอันดับเป็นมาตรฐานตามแบบสากลเสียที...” บทความ “นำร่อง” ชิ้นนี้เอง ที่มีอิทธิพลส่งผลให้ “พระยาจินดารักษ์” หัวหน้าชุดทำงานเวทีราชดำเนินนำเรื่องไปเสนอ “นายเฉลิม เชี่ยวสกุล” ในฐานะประธานเวทีฯเพื่อขอรับนโยบาย ซึ่งก็ปรากฏว่าได้รับความเห็นชอบ จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อวางหลักเกณฑ์และดำเนินการตามที่เสนอ “คณะกรรมการจัดอันดับนักมวย” ชุดแรกในประวัติศาสตร์วงการมวยเมืองไทย ประกอบด้วย หลวงธุระกิตติวัณณาการ นายวงศ์ หิรัณยเลขา ม.จ.สุวิชากร วรวรรณ นายเจือ จักษุรักษ์ นายชิต อัมพวลิน จากนั้นได้ออกประกาศรับสมัครนักมวยที่ประสงค์จะเข้าอันดับรุ่นต่างๆ เฉพาะ “มวยไทย” ประเภทเดียวก่อน แต่ปรากฏว่ามีสมัครกันน้อยมากเพียงไม่กี่คน จำนวนไม่พอที่จะจัดวางตัวเข้าอันดับได้ ทั้งนี้ว่ากันว่า นอกจากการจัดอันดับนักมวยเป็นของใหม่สำหรับประเทศไทย แ

ตำนานอันดับมวยของเวทีราชดำเนิน

วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2488 เป็นวันสถาปนาสนามมวยเวทีราชดำเนินอย่างเป็นทางการ จากวันนั้น ถึงวันนี้ (23 ธันวาคม 2548) เวทีราชดำเนินมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ ถ้าเป็นคนในอาชีพรับราชการก็ได้เวลาเกษียณพอดี   ในช่วงสอง-สามปีแรกที่เปิดดำเนินการนั้น เวทีราชดำเนินจัดการแข่งขันชกมวยเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้งเฉพาะวันอาทิตย์เท่านั้น   การชั่งน้ำหนักตัวนักมวยยังใช้มาตรเดียวกับการชั่งน้ำหนักม้าแข่ง คือใช้พิกัดเป็นสะโน (1 สะโตนเท่ากับ 6.36 กก. หรือ 14 ปอนด์)   สำหรับการเฟ้นหาตัวนักมวยที่เก่งที่สุดนั้น ได้ใช้วิธีจัดตั้ง “มวยรอบ” ขึ้น โดยคัดเลือกนักมวยที่มีน้ำหนักตัวและระดับฝีมือใกล้เคียงกันมาชกชิงคะแนนในรอบเพื่อหาตัวคนที่ได้คะแนนสูงสุด 2 คนมาชิงชนะเลิศ เรียกตามจำนวนและชื่อรอบรุ่นตามชื่อสิงสาราสัตว์ต่างๆ ที่ตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ   ผู้ชนะเลิศในแต่ละรอบจะได้รับมอบเข็มขัดสามารถหรือเสื้อสามารถเป็นรางวัลเกียรติยศเป็นกรรมสิทธิ์ถาวรตลอดไป   ผู้ได้ตำแหน่งชนะเลิศมวยรอบต่างๆ สมัยก่อน ได้รับการยอมรับ่าเป็นมวยชั้นแม่เหล็กจริงๆ จากภาพนี้ (ซ้ายไปชวา) ทองใบ ยนตรกิจ (รุ่น 4 เสือลายพาดกลอน) ศักดิ์ เทียมกำแหง (เสื้อสามารถมวยไทยรุ่