การชกมวยระหว่าง นายตันกี้ ยนตรกิจ กับ นายโนรี
ได้มีการจัดงานประจำปี ของจังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้น ซึ้งได้มีการจัดการละเล่นต่างๆร่วมถึงการชกมวยด้วย โดยมีท่านเทศาเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยนั้นเป็นประธานในงาน การแข่งขันชกมวยเป็นที่สนใจของชาวเมืองนครศรีธรรมราชเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีนักมวยฝีมือดีแห่งเมืองไชยาผู้หนึ่ง ชื่อ "นายโนรี" เป็นมวยยืนสนามที่ไม่มีผู้ให้ปราบลงได้ ท่านเทศาฯจึงได้ประกาศว่าหากผู้ใดชกนายโนรีได้ จะมอบรางวัลให้อย่างงาม ครั้นเมื่อนายตันกี้ ยนตรกิจ ได้ทราบข่าวก็ดีใจจึงได้ไปขึ้นชกกับนายโนรี
โดยการชกในครั้งนั้นยกแรกนายตันกี้ ยนตรกิจได้ต้อนนายโนรีเข้ามุม นายโนรีเห็นท่าจนมุม จึงหาทางออกด้วยการใช่ท่าเสือข้ามห้วย โดยโดดข้ามหัวแหวกทางออกมา เท่านั้นยังไม่พอกลับเอาส้นเท้ากระแทกถูหน้าผากนายตันกี้ ยนตรกิจแตกเป็นแผลยาว นายตันกี้ได้ยืนหยัดสู้จนกระทั้งยกสุดท้ายได้แก้ทางมวยของนายโนรีโดยหักแขนการควักลูกตานายโนรีออกจากเบ้าตา(เป็นการชกมวยโบราณที่มีการทำได้ยากมากต้องฝึกฝนเป็นอย่างดี และมีคนทำได้ประสบความสำเร็จน้อยมาก) ยกสุดท้ายนี้เองจึงทำให้นายโนรียอมแพ้จึงทำให้นายตันกี้ ยนตรกิจเป็นผู้ล้มนายโนรีได้ในที่สุด และเป็นที่เลื่องลือกันอย่่างมากในสมัยนั้น ส่วนนายโนรีนั้นหลังจากชกมวยทราบว่า ทนพิษบาดแผลไม่ไหวจึงถึงแก่กรรมจากการต่อสู้ในครั้งนั้น
หมายเหตุ : ขอให้ท่านที่กระจายข่าวเรื่องการชกมวยของนายตันกี้ ยนตรกิจแก้ไขในส่วนที่มีความผิดพลาดในข้อความของท่าน เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด (เช่น การชกกันแบบ7วัน7คืน เป็นต้น)
แหล่งที่มา : หนังสืออนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ นายชัยยุท ยนตรกิจ บ.ช.,ต.ม.
ผู้บันทึก : นายวิสุทธิ ยนตรกิจ (บุตรชายคนโต ของ นายตันกี้ ยนตรกิจ)
โดยการชกในครั้งนั้นยกแรกนายตันกี้ ยนตรกิจได้ต้อนนายโนรีเข้ามุม นายโนรีเห็นท่าจนมุม จึงหาทางออกด้วยการใช่ท่าเสือข้ามห้วย โดยโดดข้ามหัวแหวกทางออกมา เท่านั้นยังไม่พอกลับเอาส้นเท้ากระแทกถูหน้าผากนายตันกี้ ยนตรกิจแตกเป็นแผลยาว นายตันกี้ได้ยืนหยัดสู้จนกระทั้งยกสุดท้ายได้แก้ทางมวยของนายโนรีโดยหักแขนการควักลูกตานายโนรีออกจากเบ้าตา(เป็นการชกมวยโบราณที่มีการทำได้ยากมากต้องฝึกฝนเป็นอย่างดี และมีคนทำได้ประสบความสำเร็จน้อยมาก) ยกสุดท้ายนี้เองจึงทำให้นายโนรียอมแพ้จึงทำให้นายตันกี้ ยนตรกิจเป็นผู้ล้มนายโนรีได้ในที่สุด และเป็นที่เลื่องลือกันอย่่างมากในสมัยนั้น ส่วนนายโนรีนั้นหลังจากชกมวยทราบว่า ทนพิษบาดแผลไม่ไหวจึงถึงแก่กรรมจากการต่อสู้ในครั้งนั้น
หมายเหตุ : ขอให้ท่านที่กระจายข่าวเรื่องการชกมวยของนายตันกี้ ยนตรกิจแก้ไขในส่วนที่มีความผิดพลาดในข้อความของท่าน เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด (เช่น การชกกันแบบ7วัน7คืน เป็นต้น)
แหล่งที่มา : หนังสืออนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ นายชัยยุท ยนตรกิจ บ.ช.,ต.ม.
ผู้บันทึก : นายวิสุทธิ ยนตรกิจ (บุตรชายคนโต ของ นายตันกี้ ยนตรกิจ)
ต้องขอโทษผู้ที่ตอบความคิดเห็นมานะคัรบ พอดีกดผิดเลยทำให้ข้อความที่คุณแสดงความคิดเห็นมานั้นโดยลบไปคัรบ แต่ผมอ่านแล้วคัรบ ขอตอบว่าหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพนั้นยังมีอยู่ครับ คงจะให้เอาไปอ่านไม่ได้ครับ เพราะมีอยู่เล่มเดียวครับ แล้วผมจะเพิ่มหน้าปกอัเดทในบทความให้ดูนะครับ ว่าแต่คุณคือลูกศิษย์ของครูเล็กใช่ไหมครับ เพราะตอนนั้นผมโทรไปคุยกัีบครูเล็กให้แก้ไขทางครูเล็กจะขอดูหนังสือเพื่อเป็นหลักฐาน ผมก็เข้าใจที่กว่าเกรงว่ามีคนสมอ้างเหมือนกันครับ แต่ผมก็หวังว่าจะเข้าใจผมเหมือนกันเนื่องจากหนังสือนี้มีการอธิบายการชกมวยในครั้งนั้นค่อนข้างละเอียดกว่าที่ครูเล็กบอกเยอะหน่อย เพื่อไม่ให้ผู้อื่นนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีจากมวยไชยาจึงขอก็ไว้เป็นความลับบ้างนะคัรบ
ตอบลบ