บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2010

จัดอันดับนักมวย สนามมวยลุมพินี

นอกจากการจัดมวยรอบตามแผนสร้างดาวรุ่งที่ได้ตัวผู้ชนะเลิศในแต่ละรุ่นเช่น รอบจ้าวอากาศ-สายฟ้า ลูกชาวเหนือ, รอบจ้าวสมุทร-เขียวหวาน ยนตรกิจ, รอบจ้าวแผ่นดิน-อดุลย์ ศรีโสธร และรอบจ้าวปฐพี-แดนชัย ยนตรกิจ เป็นต้นแล้วก็มีการจัดอันดับนักมวยทั้งไทยและสากลเพื่อพัฒนาไปสู่มาตรฐานสากลควบคู่กันไปด้วย โดยคัดเลือกคณะกรรมการจัดอันดับขึ้น   ชุดแรกมีนายแพทย์สุประเกตุ จารุดุล เป็นประธานประกอบด้วยผู้สันทัดกรณีทั้งหัวหน้าคณะมวยและสื่อมวลชนร่วมกันเป็นกรรมการ ในช่วงแรกนั้นทางสนามมวยยังไม่มีห้องประชุมเป็นของตนเองจึงได้ขออาศัยห้องประชุมกองพลที่ 1 เป็นที่ประชุมในระยะแรกนั้น การจัดอันดับนักมวยได้ปฏิบัติตามหลักสากล คือจัดเพียง 6 รุ่นทั้งมวยไทย-มายสากล ซึ่งเมื่อมีการชิงแชมเปี้ยนขึ้นตามระเบียบในเวลาต่อมาจึงปรากฏตำนายแชมเปี้ยนคนแรกแต่ะละรุ่นของสนามมวยเวทีลุมพินีดังต่อไปนี้ มวยไทย รุ่นฟลายเวต (122 ปอนด์) พรชัย รัตนสิทธิ์โดยชนะอดุลย์ ศรีโสธร รุ่นแบนตั้มเวต (118 ปอนด์) ประเสริฐชัย เทิดเกียรติพิทักษ์ โดยชนะ ศักดิ์น้อย เจริญเมือง รุ่นเฟเธอร์เวต (126 ปอนด์) ศักดา ยนตรกิจ โดยชนะอิศรศักดิ์ พันท้ายนรสิงห์ รุ่นไลด์เวต (135 ปอ

จุดเริ่มต้นการจัดอันดับ 2 (สนามมวยราชดำเนิน)

รูปภาพ
ทำเนียบแชมเปี้ยนมวนสากลชุดแรก จากนั้น คณะกรรมการฯได้ดำเนินการจัดอันดับและจัดชิงแชมเปี้ยน หรือ “ผู้ชนะเลิศ” มวยสากล 5 รุ่นในวาระและโอกาสต่างๆ กันเป็นผลสำเร็จในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2490 – 2491 ตามลำดับโดยมีตำแหน่งรองแชมเปี้ยนเพียงรุ่นละ 3 อันดับดังนี้ คือ... น้ำหนัก 112 ปอนด์ หรือเทียบเท่า 8 สะโตน ผู้ชนะเลิศ ประสงค์ ธำรงเกียรติ รุ่นฟลายเวต แสง จอมทอง ธนู ศรีกำพุช จิตร ศิษย์ผล รุ่นแบนตั้มเวต น้ำหนัก 118 ปอนด์ หรือเทียบเท่า 8 สะโตน 6 ปอนด์ ผู้ชนะเลิศ ชาย ศิษย์ผล วัลลภ ยนตรกิจ เล็ก ชมศรีเมฆ จะเด็ด เลือดชนบท รุ่นเฟเธอร์เวต น้ำหนัก 126 ปอนด์ หรือเทียบเท่า 9 สะโตน ผู้ชนะเลิศ ประสิทธิ์ ส.ส. เจริญ พงษ์ไทย นิคม คล่องผจญ เสริม ศรประเสริฐ รุ่นไลท์เวต น้ำหนัก 135 ปอน์ หรือเทียบเท่า 9 สโตน 9 ปอนด์ ผู้ชนะเลิศ ธวัช วงศ์เทเวศร์ สำราญ ศรแดง ประสิทธิ์ ส.ส. อุไร ชินนคร รุ่นเวลเตอร์เวต น้ำหนัก 147 ปอนด์ หรือเทียบเท่า 10 สะโตน 7 ปอนด์ ผู้ชนะเลิศ เพิก สิงหพัลลภ ประเสริฐ ส.ส. ประสิทธิ์ ชมศรีเมฆ บุญมา เสนานันท์ อันดับมวยไทย ปี 2492 คณะกรรมการจัดอันดับ อันมี “นายฉัน

จุดเริ่มต้นการจัดอันดับ 1 (สนามมวยราชดำเนิน)

หลังจากจัดมวยรอบชื่อสิงสาราสัตว์ต่างๆดังกล่าวมาได้ระยะหนึ่งแล้ว นักขึ่นคนสำคัญ คือ “สมิงกะหร่อง” (ครูมาลัย ชูพินิจ) ได้เขียนบทความเชิงเสนอแนวคิดลงฝนนิตยสาร “กีฬา” ใจความว่า “ขณะนี้ทางสนามได้ดำเนินงานเป็นปึกแผ่นดีแล้ว น่าที่จะหานักมวยชนะเลิศประจำรุ่นและมีการจัดอันดับเป็นมาตรฐานตามแบบสากลเสียที...” บทความ “นำร่อง” ชิ้นนี้เอง ที่มีอิทธิพลส่งผลให้ “พระยาจินดารักษ์” หัวหน้าชุดทำงานเวทีราชดำเนินนำเรื่องไปเสนอ “นายเฉลิม เชี่ยวสกุล” ในฐานะประธานเวทีฯเพื่อขอรับนโยบาย ซึ่งก็ปรากฏว่าได้รับความเห็นชอบ จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อวางหลักเกณฑ์และดำเนินการตามที่เสนอ “คณะกรรมการจัดอันดับนักมวย” ชุดแรกในประวัติศาสตร์วงการมวยเมืองไทย ประกอบด้วย หลวงธุระกิตติวัณณาการ นายวงศ์ หิรัณยเลขา ม.จ.สุวิชากร วรวรรณ นายเจือ จักษุรักษ์ นายชิต อัมพวลิน จากนั้นได้ออกประกาศรับสมัครนักมวยที่ประสงค์จะเข้าอันดับรุ่นต่างๆ เฉพาะ “มวยไทย” ประเภทเดียวก่อน แต่ปรากฏว่ามีสมัครกันน้อยมากเพียงไม่กี่คน จำนวนไม่พอที่จะจัดวางตัวเข้าอันดับได้ ทั้งนี้ว่ากันว่า นอกจากการจัดอันดับนักมวยเป็นของใหม่สำหรับประเทศไทย แ

ตำนานอันดับมวยของเวทีราชดำเนิน

วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2488 เป็นวันสถาปนาสนามมวยเวทีราชดำเนินอย่างเป็นทางการ จากวันนั้น ถึงวันนี้ (23 ธันวาคม 2548) เวทีราชดำเนินมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ ถ้าเป็นคนในอาชีพรับราชการก็ได้เวลาเกษียณพอดี   ในช่วงสอง-สามปีแรกที่เปิดดำเนินการนั้น เวทีราชดำเนินจัดการแข่งขันชกมวยเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้งเฉพาะวันอาทิตย์เท่านั้น   การชั่งน้ำหนักตัวนักมวยยังใช้มาตรเดียวกับการชั่งน้ำหนักม้าแข่ง คือใช้พิกัดเป็นสะโน (1 สะโตนเท่ากับ 6.36 กก. หรือ 14 ปอนด์)   สำหรับการเฟ้นหาตัวนักมวยที่เก่งที่สุดนั้น ได้ใช้วิธีจัดตั้ง “มวยรอบ” ขึ้น โดยคัดเลือกนักมวยที่มีน้ำหนักตัวและระดับฝีมือใกล้เคียงกันมาชกชิงคะแนนในรอบเพื่อหาตัวคนที่ได้คะแนนสูงสุด 2 คนมาชิงชนะเลิศ เรียกตามจำนวนและชื่อรอบรุ่นตามชื่อสิงสาราสัตว์ต่างๆ ที่ตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ   ผู้ชนะเลิศในแต่ละรอบจะได้รับมอบเข็มขัดสามารถหรือเสื้อสามารถเป็นรางวัลเกียรติยศเป็นกรรมสิทธิ์ถาวรตลอดไป   ผู้ได้ตำแหน่งชนะเลิศมวยรอบต่างๆ สมัยก่อน ได้รับการยอมรับ่าเป็นมวยชั้นแม่เหล็กจริงๆ จากภาพนี้ (ซ้ายไปชวา) ทองใบ ยนตรกิจ (รุ่น 4 เสือลายพาดกลอน) ศักดิ์ เทียมกำแหง (เสื้อสามารถมวยไทยรุ่

ประวัติมวยไทย ตอนที่2 (จากหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพนายชัยยุท ยนตรกิจ)

ถ้าเราได้ศึกษาถึงประวัติศาสตร์มวยไทยโดยเฉพาะการต่อสู้แบบไทยหรือชาวสยาม ยังสืบค้นไม่ได้แน่นอนว่า มีมาแต่เมื่อใด แต่ได้เค้าสืบเนื่องต่อๆกันมาว่าพวก “ฮวนนั้ง” (คำที่จีนใช้เรียกคนต่างชาติ คือ คนไทย) ต้องเสียอาณาจักรไทยมุง หรือไทยเมืองในลุ่มแม่น้ำฮวงโหหรือแม่น้ำเหลืองให้แก่จีนเมื่อประมาณ พ.ศ.282 หรือประมาณ 2,000 ปีกว่ามาแล้ว ได้ระดมกำลังมากกว่าตลอดจนพลังเศรษฐกิจบีบคั้นจนไทยต้องถอยหนีความเป็นทาสลงมาทางใต้ แตกแยกกระจัดกระจายตั้งตัวไม่ติดนับร้อยๆปี ส่วนพวกคนไทยใจกล้าที่ไม่ยอมถอยถูกกลืนชาติหมดภายใน 900 ปี แต่ความเป็นไทยรักศักดิ์ศรีในความเป็นไท ทำให้พวกที่อพยพคิดสู้ด้วยถือคติว่า “ไปตายดาบหน้าดีกว่าเป็นขี้ข้าชนชาติอื่น” คนไทยต้องล้มตายด้วยภัยธรรมชาติ ความขาดแคลนอาหาร โรคภัย สัตว์ร้ายและการรบพุ่งกับคนป่าเจ้าถิ่นซึ่งดุร้าย แต่ในที่สุดก็ชนะอุปสรรคสร้าง แคว้นแถบตะวันตกออกและตอนกลางของมณฑลยูนาน             ในครั้งกระนั้น พวกจีนได้ถือเป็นธรรมเนียมเลือก “บ่อเต็กไต้ซุ่งซือ” หรือ “จอมมวย” เพื่อรับราชการเป็นแม่ทัพนายกองทหารซึ่งจะต้องประลองฝีมือกันบน “ลุยไถ” คือเสา 48 ต้น ปักเรียงกันเป็นพืดห่างกันช่วงก้าว ส

ประวัติมวยไทย ตอนที่1 (จากหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพนายชัยยุท ยนตรกิจ)

ประวัติมวยไทย เรียบเรียงโดย พ.อ.บุญส่ง   เกิดมณี เนื่องจากผู้ตายคือ คุณชัยยุท ยนตรกิจ อดีตหัวหน้าคณะนักมวยยนตรกิจ ได้คลุกคลีอยู่ในวงการมวยมานานและสร้างนักมวยฝีมือเยี่ยมหลายคนจนเป็นที่รู้จักของชาวไทยและชาวต่างประเทศ ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าควรจะมีเรื่องเกี่ยวกับประวัติมวยไทยมาลงในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนี้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของมวยไทย ซึ่งถือว่าเป็นศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทยประเภทหนึ่ง ทั้งเป็นการเสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกาย ความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา จะได้ช่วยกันดำรงรักษาไว้ และสามารถนำไปใช้ป้องกันตนเองตลอดจนผู้อื่นได้                 ถึงแม้ว่าผู้เขียนจะเคยเป็นนักมวยอยู่ในค่ายมวยยนตรกิจมานาน และเคยขึ้นเวทีชกมวยมาหลายครั้งจนนับไม่ถ้วน แต่ความรู้ในเรื่องประวัติมวยไทยมีน้อยมาก รายละเอียดต่างๆหรือหลักฐานความถูกต้องแน่ชัดไม่สามารถค้นหาได้ ในด้านชั้นเชิง ความว่องไว ปฏิภาณไหวพริบ การต่อสู้มวยไทยก็ไม่สันทัดหรือเก่งเป็นเยี่ยม แค่พอตัวเท่านั้น และคิดว่านักมวยจะเก่งได้ต้องขึ้นอยู่กับเทคนิค ความสามารถ ความเฉลียวฉลาดเฉพาะบุคคลเท่านั้น ข้อเขียนครั้งนี้ถ้ามีส่วนดีและเป็นป

นำศักดิ์ ยนตรกิจ

รูปภาพ

รูปนายชัยยุท ยนตรกิจ ถ่ายรูปกับสาริกา ยนตรกิจ และ สายเพชร ยนตรกิจ

รูปภาพ
คนทางซ้าย คือ สาริกา ยนตรกิจ คนกลาง คือ นายชัยยุท ยนตรกิจ (ผู้สืบต่อค่ายมวยยนตรกิจต่อจากนายตันกี้ ยนตรกิจ) คนทางขวา คือ สายเพชร ยนตรกิจ

Gossip แบบ สมัยก่อน "ศึกโกเต็ก"

รูปภาพ
ใช่ว่า Gossip ดารา จะมีแค่สมัยนี้ แต่มีมานานแล้ว อันนี้เป็นกล่าวหาของนักข่าวอังกฤษ ที่หาว่า ไข่มุกด์ ยนตรกิจ ท้องก่อนแต่จึงเกิดการปะทะเพื่อเอาหลักฐานมาให้ดูกันแบบจะๆไปเลย ข่าวนี้เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2506

การชกมวยคู่ของแดนชัย ยนตรกิจ ( หรือ แดนชัย เพลินจิต) ขึ้นชกกับ อภิเดช ศิษย์หิรัญ

เดชฤทธิ์ ยนตรกิจ หรือ เดชฤทธิ์ อิทธิอนุชิต

รูปภาพ
เดชฤทธิ์ ยนตรกิจ หรือ  เดชฤทธิ์ อิทธิอนุชิต ข้อมูลส่วนตัว ชื่อจริง นายทองปลิว ศรีนพ วันเกิด 17 ตุลาคม พ.ศ. 2483 สถานที่เกิด อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา รุ่น เฟเธอร์เวท, ไลท์เวท เทรนเนอร์ สุดใจ อมรฤทธิ์ สถิติ ชก ชนะ ชนะน็อก แพ้ เสมอ เดชฤทธิ์ อิทธิอนุชิต หรือนายทองปลิว ศรีนพ เกิดเมื่อ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2483 ที่อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา เป็นนักมวยไทยชื่อดังรุ่นเดียวกับ อภิเดช ศิษย์หิรัญ ประวัติ เดชฤทธิ์ เริ่มหัดชกมวยตั้งแต่อายุ 6 ขวบ หลังจากที่ครอบครัวย้ายมาอยู่ที่ มักกะสัน กทม.แล้ว เรียนหนังสือจบชั้นป.4 ครูมวยคนแรก คือ สุดใจ อมรฤทธิ์ เดชฤทธิ์ ชกมวยตามต่างจังหวัดจนมีชื่อเสียงแล้วจึงย้ายมาอยู่ ค่ายยนตรกิจ และ อิทธิอนุชิต ตามลำดับ เคยตระเวนชกโชว์ศิลปะมวยไทยไปทั่วโลกกับ คณะของ อาจารย์เจือ จักษุรักษ์ เคยชกกับนักมวยชื่อดังรุ่นเดียวกันหลายคน ทั้ง ราวี เดชาชัย สมพงษ์ เจริญเมือง อดุลย์ ศรีโสธร โดยเฉพาะกับ อภิเดช ศิษย์หิรัญ ซึ่งชกกันถึง 12 ครั้ง (มวยไทย 11 ครั้ง และ มวยสากล 1 ครั้ง) เดชฤทธิ์ เคยครอง แชมป์มวยไทยรุ่นเฟเธอร์เวท และ ไลท์เวท ของ เวทีราชดำเนิน

คลิป เดชฤทธิ์ ยนตรกิจ หรือ เดชฤทธิ์ อิทธิอนุชิต สู้กับ อภิเดช ศิษย์หิรัญ

รายชื่อนักมวยในค่ายมวยยนตรกิจ

รายชื่อนักมวยของค่ายมวยยนตรกิจ (แคมป์เพชรพญาธร)   1. ทองใบ ยนตรกิจ หรือ ทองใบ สนสร้อย   2. เสริม ยนตรกิจ (เข่าเหล็ก)   3. แนบ ยนตรกิจ (แมวป่าหน้าหนู )   4. เกียรติ ยนตรกิจ   5. เชาว์ ยนตรกิจ (พะงางาม)   6. หนามเตย ยนตรกิจ หรือ พ.อ.นรินทร์ พวงแก้ว   7. บาง ยนตรกิจ ( บางตันน้อย )   8. ปฐม ยนตรกิจ ( เท้าไฟ )   9. วัลลภ ยนตรกิจ ( หมัดซิยิ่งกุ้ย ) 10. ชม ยนตรกิจ ( หมัดเมืองแร่ ) 11. ยงยุทธ ยนตรกิจ ( ปลาไหลหลง ) 12. พิชิต ยนตรกิจ 13. บำรุง ยนตรกิจ 14. ทินกร ยนตรกิจ 15. อวยพร ยนตรกิจ 16. บุญสืบ ยนตรกิจ 17. สมหวัง ยนตรกิจ 18. สาริกา ยนตรกิจ 19. สายเพชร ยนตรกิจ 20. สมเดช ยนตรกิจ หรือ นายสำรวย ธานี (ซ้ายมฤตยู หรือ ซ้ายฟ้าผ่า) 21. บัวแก้ว ยนตรกิจ 22. สุรพล ยนตรกิจ 23. เสวก ยนตรกิจ 24. เสนอชัย ยนตรกิจ 25. ไมตรี ยนตรกิจ 26. บรม ยนตรกิจ 27. เขียวหวาน ยนตรกิจ หรือ พ.อ.บุญส่ง เกิดมณี (ซ้ายฟ้าฟาด) 28. นำศักดิ์ ยนตรกิจ หรือ นำศักดิ์ เดชอำนาจ (จอมตะลุย) 29. ศักดา ยนตรกิจ 30. เดชฤทธิ์ ยนตรกิจ 31. แดนชัย ยนตรกิจ (เสือขาว) 32. กุมารทอง ยนตรกิจ 33. ปานดำ ยนตรกิจ 34. ไก่แก้ว

ผู้หญิงคนแรกที่ฝึกมวยของค่ายมวยยนตรกิจ ( The first woman to practice boxing camp boxing Yontarakit. )

รูปภาพ
รูปนี้เป็นผู้หญิงที่ฝึกมวยคนแรกของค่ายมวยยนตรกิจ ผู้หญิงคนนี้ไม่ใช่ใครที่ไหนคือนางไข่มุกด์ ยนตรกิจ บุตรสาวของนายตันกี้ ยนตรกิจ นั้นเอง This is the first women's boxing training camp fight Yontarakit. This woman is not one where Ms. Kai Mug Yontarakit Grand daughter of Mr. Tan Kee Yontarakit itself.

การชกมวยชิงถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่9

มวยโดยเสด็จพระราชกุศล ทุนนักมวยไทย ในมูลนิธิอานันทมหิดล   ขอบเขตการดำเนินงานของเวทีราชดำเนิน ไม่ได้จำกัดบทบาทอยู่ที่ความรับผิดชอบในการส่งเสริมสนับสนุนและเผยแพร่มวยไทย ศิลปวัฒนธรรมการต่อสู้ป้องกันตัว ที่เกิดจากภูมิปัญญาไทยและเป็นมรดกของชาติไทยเท่านั้น แต่ได้สยายปีกและเพิ่มภารกิจความรับผิดชอบเข้าสู้ภาคสังคม เพื่อคุณภาพและความมั่นคงในการดำรงชีวิตของกลุ่มชนผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา และผู้ไม่มีโอกาสที่จะแสวงหารายได้จากแหล่งงานด้านอื่นด้วย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่เปิดการแข่งขันชกมวยนัดปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2488 จนมาถึงบัดนี้เป็นเวลา 60 ปี เวทีราชดำเนินจึงได้กลายเป็นแหล่งงานที่ประชากรของชาติในวัยเยาวชนและวัยหนุ่มฉกรรจ์ หลั่งไหลจากสุกสารทิศและทุกภาคของประเทศ เข้ามาแสวงหารายได้จากการแข่งขันด้วยศิลปะอันยอดเยี่ยมแห่งมวยไทย เพื่อใสวงหาเงินจุนเจือครอบครัวและหาเงินเป็นทุนการศึกษา ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่เพียงแต่จะสร้างความภูมิใจให้กับเวทีราชดำเนินเท่านั้นแต่เป็นกรณีที่ประเทศชาติเองก็ได้รับผลประโยชน์อย่างยิ่ง เมื่อบุคคลผู้เติบโตมาจากการโลดแล่นอยู่บนผืนผ้าใบของเวทีราชดำเนินได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน

งานเด่นของสนามมวยราชดำเนิน

รูปภาพ
งานเด่นราชดำเนิน หลังส่งครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงใหม่ๆ “มวย” คือสุดยอดความมันส์และบันเทิงในยามเย็นประเภทหนึ่งของคนกรุงเทพฯ หลายๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ เวทีราชดำเนินในช่วงเวลานั้นและต่อๆ มา อาจเป็นสิ่งเกินคาดหมายเหนือจินตนาการสำหรับคนรุ่นใหม่วัยมันส์ในวันนี้ ถ้าถือว่าเรื่องใดก็ตามที่ขึ้นต้นว่า ... “ครั้งหนึ่ง..นานมาแล้ว” ..เป็น “ตำนาน” บันทึกอดีตต่อไปนี้ก็น่าจะเรียกว่า “ตำนาน” ได้กระมัง สุข – สมาน ย้อนตำนานไปเมื่อ 57 ปีก่อน มวยรายการที่ “สุข ปราสาทหินพิมาย” ชกกับ “สมาน ดิลกวิลาศ” เมื่อ พ.ศ. 2491 ณ เวทีราชดำเนินนั้น ถือเป็นศึกใหญ่แห่งปีที่แฟนมวยตั้งตาคอยกันทั้งเมือง เพราะทั้งคู่คือสุดยอดมวยไทยรุ่นหนักที่ยังไม่เคยชกกันมาก่อน แม้ว่าจะได้มีความพยายามจัดให้ชกกันหลายครั้งแล้ว แต่ไม่สำเร็จ กระทั่งต้องส่งตัวแทนขึ้นไปติดต่อ “เยนเติ้ลแมน” – สมนา ดิลกวิลาศ ถึงจังหวัดเชียงราย เพราะสมานขึ้นไปเป็นเถ้าแก่วิ่งรถโดยสารอยู่ที่นั่น โดยขอร้องว่า..ช่วยไปปราบ “ยักษ์สุข” ให้หน่อยเถอะ!! นั่นแหละ ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสังเวียนจึงตกลงรับเงิน มัดจำ 3,000 บาท และเดินทางเข้ามาฟิตซ้อมใน กรุงเทพฯ ล่วงหน้ากว่า 1 เดือน หลั

กุมารทอง ยนตรกิจ

นักมวยรุ่นเบาคนหนึ่งซึ่ง "ดัง" พอตัวเมื่อสามสิบกว่าปีก่อนโน้นเป็นดาราเดิมพันที่เที่ยวตระเวน "กิน" เขาไปทั่ว ตั้งแต่เหนือจดใต้ ยันอีสานถือกันว่า เป็นมังกรรุ่นเยาว์ที่เจนจบวิทยายุทธ์ทั้งมวยไทยมวยสากลชนิดหาตัวจับยาก มีสถิติการชกโชกโชนกว่า 200 ไฟต์ เขาคือ...กุมารทอง ยนตรกิจ ศิษย์รุ่นจิ๋วของเตี่ยตันกี้เจ้าสำนัก "ยนตรกิจ" เกิดที่เมืองจีนเมื่อ พ.ศ. 2482 ชื่อจริงๆ "ตังกวย แซ่ลิ้ม" เตี่ยพาอพยพมาเมืองไทยตั้งแต่ตัวเล็กๆ โดยตั้งร้านขายกาแฟอยู่ใกล้ๆ ค่ายมวย ยนตรกิจ ซอยวัดน้อยนพคุณ ราชวัตร เดินส่งกาแฟทุกวันจนคุ้นเคยกับทุกคนในค่าย เจ้ากวยชมชอบเรื่องชกต่อยอยู่แล้ว จึงเริ่มหัดชกหัดต่อยจากแบบที่เห็นรุ่นใหญ่เขาหัดกัน จนคล่องแคล่วไปทุกกระบวน แต่ไม่ได้ชก เพราะยังตัวกะเปี๊ยกอยู่มาก เจ้ากวย ได้ขึ้นชกมวยจริงๆ เมื่ออายุ 16 ปี ในชื่อ "กุมารทอง ยนตรกิจ" ความที่เป็นหนุ่มลูกจีน ผิวขาว รูปร่างผอมบาง แต่ชกสนุกหนักหนาจึงได้รับความเอ็นดูจากแฟนมวยเป็นพิเศษและดังขึ้นอย่างรวดเร็ว สมัยที่เป็นแฟนมวยชาวไทยเห่อมวยจีน กุมารทองเคยถูกพาปลอมชื่อเป็น "หลีง่วนป่า" อ

ข้อแก้ไข เรื่องการชกมวยกันถึงตาย มวยคู่นายตันกี้ ยนตรกิจ

ข้อความจากเว็ปไซต์ http://www.samkhum.com/webboard/index.php?topic=189.0  พิมพ์ว่า  มวยสมัยโบราณที่ชกกันถึงตายก็คือ มวยคู่ของครูตันกี้ ยนตรกิจ กับ โนรีซึ่งเป็นมวยไชยา ครูตันกี้ ยนตรกิจ ก็เป็นต้นตำรับฉบับม้าย่อง ทีนี้โนรีชก ทั้ง ๖ วันเนี่ยไม่มีใครสู้ได้เลยนะครับ แล้วก็ไปชกลูกศิษย์ครูตันกี้ ครูตันกี้ก็โมโหขึ้นชกในวันที่ ๗ ขึ้นไปชกปั๊ป ครูตันกี้ก็ชกกับโนรี โนรี ก็กระโดดข้ามหัว อีท่าไหนไม่รู้ อาจจะชก อาจจะอะไรไม่ทราบนะครับ กระโดดข้ามหัว เอาส้นเท้าเตะหน้าผากครูตันกี้แตก ครูตันกี้ก็โมโห ทีนี้ก็เข้าไปเบียด เบียดปั๊ป ควักลูกตาหลุดเลยนะครับ ครูตันกี้ควักลูกตาโนรีหลุดเลย โนรีก็โมโหเหมือนกัน ก็ให้พี่เลี้ยงตัดสายตาที่ห้อยออกมาทิ้ง ครูตันกี้ก็ไปเบียด หักแขนอีก เหลือตาข้างเดียว มองอะไรก็ไม่ค่อยเห็นแล้วใช่ไหมฮะ เข้าหักแขนอีก ก็แพ้ ไป แล้วก็ไปเป็นบาดทะยักตายที่บ้าน.... ความจริงคือ ครูตันกี้ ยนตรกิจ ได้ชกกับนักมวยไชยาชื่อโนรี ท่านได้ชกท่าที่ตนถนัดคือควักลูกนัยตาของคู่ต่อสู้ การชกกันในครั้งนี้ได้ขึ้นชกเป็นเวลา1วันเท่านั้น และไม่ได้ให้ลูกศิษย์ขึ้นชกกัน 6วัน เพราะสมัยนั้นยังไม่มีมีการจัดตั้งค่ายมวยและไ

สายเพชร ยนตรกิจ

รูปภาพ
สายเพ็ชรมีนามจริงว่า "ซอฮั่ง แซ่หลาย" เกิดบนผืนแผ่นดินใหญ่ ที่หมู่บ้านตระกูลหลาย เมืองโผวเล้ง วันเกิดของเขาตามปฏิทินจีนคือวันชิวอิด เดือนแปด ตรงกับปฏิทินสากลคือวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๔๗๕ เป็นบุตรคนโตของนายหล่งจ๋าย แซ่หลาย และนางอั่งย้ง แซ่พัว มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๔ คน เป็นชายล้วน เมื่อเขาอายุได้เพียง ๑๐ ขวบ บิดาก็เสียชีวิตลง ต่อมาน้องที่ ๓ ก็ต้องเสียชีวิตไปอีกคน ส่วนน้องคนเล็กสุดญาติขอไปเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรม อีก ๒ ปีต่อมาปู่ก็เสียชีวิตลงอีก ประกอบกับเวลานั้นเมืองโผวเล้งต้องประสบภัยแล้ง และที่ดินทำนาก็มีอยู่น้อย แม่จึงตัดสินใจพาเขากับน้องคนรองเดินทางมาตายเอาดาบหน้าที่เมืองไทย ซึ่งเวลานั้นตาและญาติผู้ใหญ่ทางฝ่ายแม่ได้เดินทางมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่เพชรบุรีก่อนหน้านี้หลายปีแล้ว เวลานั้นสงครามโลกสงบลงแล้ว เขามีอายุราว ๑๒-๑๓ เท่านั้น ทั้ง ๓ แม่ลูกเดินทางโดยเรือสินค้ารอนแรมทะเลมานับเดือนจึงถึงเมืองไทย "ผมเกือบเลี้ยงปลาซะแล้ว" เขาเล่าถึงระหว่างทางที่เดินทางมา "มาเรือสินค้าต้องอยู่ใต้ท้องเรือ หน้าต่างก็ไม่มี มันร้อนจนทนไม่ไหว ผมเลยหนีขึ้นไปนอนบนดาดฟ้าเรือ แม่ก็ไม่รู้ ไม่