งานเด่นของสนามมวยราชดำเนิน

งานเด่นราชดำเนิน
หลังส่งครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงใหม่ๆ “มวย” คือสุดยอดความมันส์และบันเทิงในยามเย็นประเภทหนึ่งของคนกรุงเทพฯ หลายๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ เวทีราชดำเนินในช่วงเวลานั้นและต่อๆ มา อาจเป็นสิ่งเกินคาดหมายเหนือจินตนาการสำหรับคนรุ่นใหม่วัยมันส์ในวันนี้ ถ้าถือว่าเรื่องใดก็ตามที่ขึ้นต้นว่า ... “ครั้งหนึ่ง..นานมาแล้ว” ..เป็น “ตำนาน” บันทึกอดีตต่อไปนี้ก็น่าจะเรียกว่า “ตำนาน” ได้กระมัง
สุข – สมาน
ย้อนตำนานไปเมื่อ 57 ปีก่อน มวยรายการที่ “สุข ปราสาทหินพิมาย” ชกกับ “สมาน ดิลกวิลาศ” เมื่อ พ.ศ. 2491 ณ เวทีราชดำเนินนั้น ถือเป็นศึกใหญ่แห่งปีที่แฟนมวยตั้งตาคอยกันทั้งเมือง เพราะทั้งคู่คือสุดยอดมวยไทยรุ่นหนักที่ยังไม่เคยชกกันมาก่อน แม้ว่าจะได้มีความพยายามจัดให้ชกกันหลายครั้งแล้ว แต่ไม่สำเร็จ
กระทั่งต้องส่งตัวแทนขึ้นไปติดต่อ “เยนเติ้ลแมน” – สมนา ดิลกวิลาศ ถึงจังหวัดเชียงราย
เพราะสมานขึ้นไปเป็นเถ้าแก่วิ่งรถโดยสารอยู่ที่นั่น โดยขอร้องว่า..ช่วยไปปราบ “ยักษ์สุข” ให้หน่อยเถอะ!! นั่นแหละ ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสังเวียนจึงตกลงรับเงิน มัดจำ 3,000 บาท และเดินทางเข้ามาฟิตซ้อมใน กรุงเทพฯ ล่วงหน้ากว่า 1 เดือน หลังห่างสังเวียน ไปนานนับปี ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ในวันชกแฟนมวยหลั่งไหลเข้าไปดูกันจนสนามมวยราชดำเนินยุตหลังคาโปร่งฟ้าแน่นขนัดยัดเยียด เพียงใด เอกเป็นว่าไม่มีที่ยืนก็แล้วกัน ไม่นับพวกกล้าตายที่อุตส่าห์ปีนขึ้นไปดูอยู่บนต้นหูกวางรอบเวทีแบบไม่กลัวตกลงมา คอหักอีกต่างหาก !!
ผลการชกลงเอยโดย “ยักษ์สุข” ในวัน 36 ปี ซึ่งฟิตซ้อมมาดีกว่าชนะคะแนนไป ได้ชกแก้มือกันอีกครั้งในปลายปี 2492 ที่จังหวัดลำปาง ผล ? เสมอกรรโชกโชน!!
สุข ประสารทหิน จับมือกับสมาน ดิลกวิลาศ ต่อหน้าพระยาจินดารักษ์ อาจารย์เจือ จักษุรักษ์ ม.จ.สุวิชากร วรวรรณ
และคณะกรรมการแข่งขันเวที ในการชกกันครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2491
อุสมาน – ทองใบ
อีก 2 ปีถัดมา วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2493 รายการยิ่งใหญ่ระดับ “ศึกแห่งทศวรรษ” ก็บังเกิดขึ้นอีก และถือเป็นไฮไลท์ของสนามมวยราชดำเนินใน พ.ศ. นั้น
นั้นก็คือ การพบกันครั้งแรกระหว่าง “โอรสเจ้าอาหรับ” อุสมาน ศรแดง สิงห์หนุ่มวัย 20 กับ “นายยางตัน” ทองใบ ยนตรกิจ เสือเก่าวัยฉกรรจ์อายุย่าง 30 ปี ถือเป็นศึกพิสูจน์ศักดิ์ศรีครั้งสำคัญของ “เด๊ท มีโรซ่า” หัวหน้าคณะ “ศรแดง” แห่งตรอกตำปีซา สีลม กับ เตี่ยตันกี้ “จอมขมังเวท” เจ้าสำนักยนตรกิจ ย่านวัดน้อยนพคุณราชวัตร
มวยคู่นี้ได้รับความสนใจจากมวลชนคนชอบมวยมากมายขนาดไหนนั้น ให้ตัวเลขเป็นผู้ตอบดีกว่าครับ
ในวันชก สนามเปิดตั้งแต่เวลา 10.00 น. ปรากฏวามีคนเข้าไปนั่งรอกันแล้ว ต้องใช้ทหารสารวัตรไล่ แต่หลายคนก็ดื้อแพ่งไม่ยอมออกทั้งที่แดดร้อนเปรี้ยง เพราะสนามยังไม่มีหลังคา บางคนเอาข้าวเข้าไปนั่งกินรอ กว่าจะถึง 16.00 น. เวลาที่มวยเริ่มชก ทุกชั้นทุกที่นั่งก็แน่นเอี่ยดไปหมดแล้ว..
รายการปกติเคยเก็บค่าดูชั้นสามเพียงหัวละ 10 บาท วันนั้นชาร์จขึ้นอีกเท่าตัว เป็น 20 บาท, ชั้นสอง 40 บาท เก็บค่าผ่านประตูได้ 117,725 บาท ใครอยากรู้ว่าคนดูกี่หมื่นกี่พันก็ลองใช้เครื่องคิดเลขคำนวณดูเอาเองละกัน!!
ผลการชก ยกแรกทองใบ โดนหมัดขาวทรุดลงไปนับ 2 หน หวิดอยู่หวิดไป แต่ระฆังช่วยไว้ สองยกสุดท้าย “เตี่ยตันกี้” สั่งเปลี่ยนแผนให้ทองใบระดมเตะพับนอกที่เรียกว่า “เหยียบแคมสำเภา” อย่างรุนแรงต่อเนื่อง ทำเอาอุสมานอ่อนระโหยลงทันตา กระทั้งสิ้นยกสุดท้าย “โอรสเจ้าอาหรับ” แพ้คะแนนเป็นเอกฉันท์      
งานนั้น ทองใบผู้ชนะรับเงินรางวัลไป 25,500 บาท ในขณะที่อุสมานรับไป 15,000 บาท
เงิน 25,000บาท สมัยนั้น ถอยรถเก๋งป้ายแดงออกมาคันหนึ่งแล้วยังมีเหลืออีกนะคุณ..!!
สัญญาตันกี้, ทองใบ, อุสมาน และเด๊ท มิโรซ่า จับมือทำสัญญาชกศึกใหญ่ประจำศตวรรษ
ประชาชนชาวพระนครหลั่งไหลเข้าสู่เวทีราชดำเนินในขณะที่อยู่ในระหว่างสร้างหลังคา เพื่อชมการแข่งขันระห่างอุสมาน ศรแดง กับ ทองใบ ยนตรกิจ หลายคนปีนขึ้นไปนั่งชมบนโครงสร้างหลังคา โดยไม่กลัวตกลงมาคอหักตาย รายการนี้ ค่าดูชั้นสาม 20 บาท ชั้นสอง 40 บาท เก็บค่าผ่านประตูได้ถึง 117,725 บาท ทองใบรับรางวัลไป 25,500 บาท ผู้แพ้รับไป 15,00 บาท

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การชกมวยชิงถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่9

ประวัติค่ายมวยยนตรกิจ

ภาพการรวมตัวของนักมวยในค่ายมวยยนตรกิจ