ตำนานอันดับมวยของเวทีราชดำเนิน

วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2488 เป็นวันสถาปนาสนามมวยเวทีราชดำเนินอย่างเป็นทางการ จากวันนั้น ถึงวันนี้ (23 ธันวาคม 2548) เวทีราชดำเนินมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ ถ้าเป็นคนในอาชีพรับราชการก็ได้เวลาเกษียณพอดี
 
ในช่วงสอง-สามปีแรกที่เปิดดำเนินการนั้น เวทีราชดำเนินจัดการแข่งขันชกมวยเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้งเฉพาะวันอาทิตย์เท่านั้น
 
การชั่งน้ำหนักตัวนักมวยยังใช้มาตรเดียวกับการชั่งน้ำหนักม้าแข่ง คือใช้พิกัดเป็นสะโน (1 สะโตนเท่ากับ 6.36 กก. หรือ 14 ปอนด์)
 
สำหรับการเฟ้นหาตัวนักมวยที่เก่งที่สุดนั้น ได้ใช้วิธีจัดตั้ง “มวยรอบ” ขึ้น โดยคัดเลือกนักมวยที่มีน้ำหนักตัวและระดับฝีมือใกล้เคียงกันมาชกชิงคะแนนในรอบเพื่อหาตัวคนที่ได้คะแนนสูงสุด 2 คนมาชิงชนะเลิศ เรียกตามจำนวนและชื่อรอบรุ่นตามชื่อสิงสาราสัตว์ต่างๆ ที่ตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ
 
ผู้ชนะเลิศในแต่ละรอบจะได้รับมอบเข็มขัดสามารถหรือเสื้อสามารถเป็นรางวัลเกียรติยศเป็นกรรมสิทธิ์ถาวรตลอดไป
 
ผู้ได้ตำแหน่งชนะเลิศมวยรอบต่างๆ สมัยก่อน ได้รับการยอมรับ่าเป็นมวยชั้นแม่เหล็กจริงๆ จากภาพนี้ (ซ้ายไปชวา) ทองใบ ยนตรกิจ (รุ่น 4 เสือลายพาดกลอน) ศักดิ์ เทียมกำแหง (เสื้อสามารถมวยไทยรุ่นใหญ่) จะเด็ด เลือดชนทบ (เสื้อสามารถมวยสกกล) อุสมาน ศรแดง (รุ่น 6 ดาวทอง) พิทยา กล้าศึก (รุ่น 5 ดาราทอง) จำเริญ ทรงกิตรัตน์ (รุ่น 4 ดาวทอง) วีระศิกดิ์ ลูกสุรินทร์ (รุ่น 4 สิงห์) และ “นักมวยเสื้อสามารถ” เหล่านี้เอง ที่ได้ขึ้นชั้นเป็นนักมวยเอกระดับซูเปอร์สตาร์ของสนามในเวลาต่อมา
 
แต่ทั้งนี้ มิได้หมายความว่า นักมวยที่ไม่ได้เสื้อสามารถจะไร้ความหมายโดยสิ้นเชิงหามิได้ เพราะอันที่จริงแล้วหลายๆ คนในกลุ่มเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น “สุข ปราสาทหินพิมาย” – ผล พระประแดง” –  “ประเสริฐ ส.ส.” – “สุรชัย ลูกสุรินทร์” – “เปลี่ยน กิ่งเพชร” – “สมเดช ยนตรกิจ” – “วิหค เทียมกำแหง” และฯลฯ ล้วนแต่นักมวยเอกชื่อดังทั้งสิ้น โดยเฉพาะ “สุข ปราสาทหินพิมาย” นั้น ถือเป็นผู้จุดประกายและก่อกระแสให้คนไทยเกิดความนิยมชมชอบเรื่องหมัดมวยไปทั่วประเทศ เป็นคนแรกและอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
 
จากช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2490-2491 มีนักมวยที่ชนะเลิศรอบรุ่นต่างๆของเวทีราชดำเนิน ดังนี้
  • เข็มขัดสามารถมวยไยรุ่น “6 ราชสีห์” – ประสิทธิ์ ชมศรีเมฆ
  • เสื้อสามารถมวยไทยรุ่น “4 เสือลายพาดกลอน” – ทองใบ ยนตรกิจ
  • เสื้อสามารถมวยไทยรุ่น “4 สิงห์” – วีระศักดิ์ ลูกสุรินทร์
  • เสื้อสามารถมวยไทยรุ่น “8 เสือโคร่ง” – สนิท เทียมกำแหง
  • เสื้อสามารถมวยไทยรุ่น “6 ดาราทอง” – พิทยา กล้าศึก
  • เสื้อสามารถมวยไทยรุ่น “4 ดาวทอง” – จำเริญ ทรงกิตรัตน์
  • เสื้อสามารถมวยไทยรุ่น “6 ดาวทอง” – อุสมาน ศรแดง
  • เสื้อสามารถมวยไทยรุ่น “4 วายุภักษ์” – ประยุทธ อุดมศิกดิ์
  • เสื้อสามารถมวยไทยรุ่น “8 พญานาคราช” – ชูชัย พระขรรค์ชัย
  • เสื้อสามารถมวยไทยรุ่น “4 ยอดขุนพล” – สดใส นฤภัย
  • เสื้อสามารถมวยไทยรุ่น “4 เสือเหลือง” – สีบัวแดง เลือดอุบล
ซึ่งแต่ละคนได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ “ชนะเลิศ” หรือ “แชมเปี้ยน” - ศัพท์ใหม่ที่คนไทยยังไม่คุ้นหูไปโดยปริยาย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การชกมวยชิงถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่9

ประวัติค่ายมวยยนตรกิจ

ภาพการรวมตัวของนักมวยในค่ายมวยยนตรกิจ