ประวัติมวยไทย ตอนที่3

คนไทยเป็นชาติเล็กๆจึงถูกจีนซึ่งเป็นประเทศใหญ่รังแกเสมอๆเพราะจีนถือว่าเป็นชาติใหญ่มีความเจริญมาก่อน ประกอบลักษณะของจีนสมัยโบราณ รูปร่างใหญ่แข็งแรงดุดัน เสียงดังดุจฟ้าร้อง กิริยาเหมือนม้าควบ เป็นที่น่ากลัวและน่าเกรงขามยิ่งนัก ส่วนคนไทยไม่มีคำกล่าวสรรเสริญไว้ให้ใครเกรง นอกจากบทประพันธ์ประกาศปฏิญาณตนทำนองบอกกล่าวจิตใจของชายชาตรีไว้ ดังนี้
                                                “ตัวกูชายชาติเชื้อ        ชาวไทย
                                    ถึงเล็กแต่หัวใจ                        ใหญ่ป้ำ
                                    มิอ่อนระย่อใคร                        ขี่พ่อ
                                    แม้มังกรจามห้ำ                        ห่อนแสง”
            จากบทประพันธ์จะเห็นได้ว่าคนไทยชอบต่อสู้ ถึงแม้ว่ารูปร่างเล็กแต่ไม่กลัวใคร ชายชาตรีตามอุดมคติของคนไทยนั้นต้องประกอบด้วยคุณสมบัติครบ5ประการคือ
            1. คุณวุฒิ
            2. มารยาทและมนุษยธรรม
            3.วีรธรรมและทรหด
            4.อำนาจทางกฤษตาคม
            5.พลังกายและความรู้ด้านการต่อสู้ป้องกันตัว หรือเหมาะกับคำพังเพยว่า “เล็กพริกขี้หนู”
            สู้ได้หรือไม่ได้ไทยก็ไม่เคยยอมจำนน คงต่อสู้ตามหลักการของไทยซึ่งนิยมใช้กันในกองทัพโจรปัจจุบัน ไทยก๊กใดกลุ่มใดสู้ไม่ได้ก็ถอยร่นเข้าป่า ได้ทีเมื่อใดก็ออกโจมตีอย่างเข้มแข็ง ระหว่างที่ไม่ถูกรังแกบรรดาพฤทธิ์หรือพ่อเฒ่าตามปัจจันตชนบท (ชายเขตติดต่อดินแดนต่างประเทศ) ได้พยายามสร้างชายหนุ่มของหมู่บ้านด้วยอุปเท่ห์การเล่น “ออกแรง” เช่น ปล้ำ วิ่งวัว พายเรือแข่งและไม้ลอย (ห้อยโหนตีลังกาในที่สูง) และเพื่อป้องกันตัวได้เพียรพยายามคิดค้นวิธีต่อสู้ติดต่อกันตลอดหลายชั่วคน จนสามารถกำหนดเป็นหลักเกณฑ์เฉพาะคนไทยด้วยเชิงลับ “ชิงคม” และ “พันลำ” อันก่อความครั่นคร้ามแก่ศัตรูผู้รุกรานทั้วไป (คล้ายสมัยหนึ่งพากันกลัวเกรงชนชาติญี่ปุ่นเพราะคำว่าญิวญิตสู)
            ในที่สุดชาติไทยก็ได้ตำราที่เรียกว่า “ฉุปศาสตร์” หรือตำรารบซึ่งอาจใช้มีดเหน็บ , หอก ,ดาบ , แหลนหลาว , ของ้าว , ขวาน , เสน่า(อาวุธคล้ายมีดใช้ขว้าง) , กระสุน , หน้าไม้(ลูกดอกอาบยาพิษ) , ธนูเพลิง(ปืน) ตลอดจนอาวุธวิเศษทรงอำนาจฆ่าคนได้ถึง 100 คน(เข้าใจว่าลูกระเบิด) และในยามสงบไทยก็ได้เตรียมนบโดยคณาจารย์ ครูบา (คนเก่งที่หวนกลับครองเพศบรรพชิต) ช่วยกันอบรมประสิทธิประสาทวิทยาการซึ่งแยกสาขาจากตำรา “ฉุปศาสตร์” เพื่อให้ลูกผู้ชายตามหมู่บ้านชินชำนาญเชิง “พาหุยุทธ” คือการต่อสู้ด้วยแขนรวมทั้งการปล้ำ หรือที่รู้ๆกันในหมู่ชนสามัญว่า “ตีมวย” (คำใช้ในพระธรรมนูญลักษณะเบ็ดเสร็จบทที่119) นี่คือประวัติความเป็นมาของมวยไทยสมัยโบราณ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การชกมวยชิงถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่9

ประวัติค่ายมวยยนตรกิจ

บรรยากาศงานฌาปนกิจ สมเดช ยนตรกิจ