ประวัติมวยไทย ตอนที่2 (จากหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพนายชัยยุท ยนตรกิจ)

ถ้าเราได้ศึกษาถึงประวัติศาสตร์มวยไทยโดยเฉพาะการต่อสู้แบบไทยหรือชาวสยาม ยังสืบค้นไม่ได้แน่นอนว่า มีมาแต่เมื่อใด แต่ได้เค้าสืบเนื่องต่อๆกันมาว่าพวก “ฮวนนั้ง” (คำที่จีนใช้เรียกคนต่างชาติ คือ คนไทย) ต้องเสียอาณาจักรไทยมุง หรือไทยเมืองในลุ่มแม่น้ำฮวงโหหรือแม่น้ำเหลืองให้แก่จีนเมื่อประมาณ พ.ศ.282 หรือประมาณ 2,000 ปีกว่ามาแล้ว ได้ระดมกำลังมากกว่าตลอดจนพลังเศรษฐกิจบีบคั้นจนไทยต้องถอยหนีความเป็นทาสลงมาทางใต้ แตกแยกกระจัดกระจายตั้งตัวไม่ติดนับร้อยๆปี ส่วนพวกคนไทยใจกล้าที่ไม่ยอมถอยถูกกลืนชาติหมดภายใน 900 ปี แต่ความเป็นไทยรักศักดิ์ศรีในความเป็นไท ทำให้พวกที่อพยพคิดสู้ด้วยถือคติว่า “ไปตายดาบหน้าดีกว่าเป็นขี้ข้าชนชาติอื่น” คนไทยต้องล้มตายด้วยภัยธรรมชาติ ความขาดแคลนอาหาร โรคภัย สัตว์ร้ายและการรบพุ่งกับคนป่าเจ้าถิ่นซึ่งดุร้าย แต่ในที่สุดก็ชนะอุปสรรคสร้าง
แคว้นแถบตะวันตกออกและตอนกลางของมณฑลยูนาน
            ในครั้งกระนั้น พวกจีนได้ถือเป็นธรรมเนียมเลือก “บ่อเต็กไต้ซุ่งซือ” หรือ “จอมมวย” เพื่อรับราชการเป็นแม่ทัพนายกองทหารซึ่งจะต้องประลองฝีมือกันบน “ลุยไถ” คือเสา 48 ต้น ปักเรียงกันเป็นพืดห่างกันช่วงก้าว สูง 6 เชี้ยะ หรือเท่ากับ 3 เมตรไม่มีบันไดนักมวยต้องเป็นนักกระโดดสูงด้วยจึงจะขึ้น“ลุยไถ”ได้ ยิ่งกว่านั้นที่โคนเสาปักหอกแหลนหลาวสุมด้วยฟางชุบน้ำมันปลา เมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จประทับเป็นประธานเรียบร้อยแล้ว การต่อสู้ซึ่งเดินทางเสี่ยงโชคจากเมืองไกลเตรียมตัวออกประลอง เริ่มด้วยม้าล่อ (เครื่องดนตรีจีน) เพลงรบและจุดเพลิง กล่าวกันว่าคู่ต่อสู้ครั้งประวัติศาสตร์นั้น ฝ่ายหนึ่งเป็นบาจรีย์หญิงชื่อ ซีโหง้วบ๋วยอีกฝ่ายหนึ่งเป็นบรมครูชายชื่อลี้ปาชาน ได้ทำการต่อสู้กับแบบมวยจีน ลี้ปานซานเสียท่าพลัดตกลงจาก “ลุยไถ”  แต่ซีโหง้วบ๋วยว่องไวยิ่งนัก ตวัดตีน(เตะ) ถูกคอลี้ปานซานขาดก่อนตกถูกหอกแหลนหลาวตำไหม้มอดม้วย และสันนิษฐานว่าอาจมี “ฮวนนั้ง” หรือคนไทยประสบเหตุการณ์ด้วยตาจึงมีคำพูดติดปากมาจนทุกวันนี้ว่า “.......เดี๋ยวพ่อเตะคอขาด” แต่ความพ่ายแพ้ของลี้ปาซานลือกันว่ามิได้แพ้เพราะฝีมือ  เพราะลี้ปาซานแพ้คำสาบานต่อครูบาอาจารย์ และอาจสืบเนื่องจากกรณีอัปมงคลดังกล่าวเป็นต้นเหตุ การฝึกหัดต่อสู้แบบมวยไทยจึงต้องมีการ “ขึ้นครู” เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ในการถ่ายทอดศิลปะศาสตร์ แต่ความจริงจะอย่างไรก็ตาม คนเราไม่ควรให้เสียคำสาบาน (มุสาวาท) เป็นอันขาด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การชกมวยชิงถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่9

ประวัติค่ายมวยยนตรกิจ